รายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 12 เดือน ปี 2562

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดประชุมสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ รอบ 12 เดือน ของปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 ณ ห้อง K101 เวลา 0900-1200 โดยในปีงบประมาณ 2562 มีประเด็นความเสี่ยงภาคบังคับให้ภาควิชา ศูนย์วิจัย และงาน ภายในคณะวิทยาศาสตร์พิจารณา 4 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านยุทธ์ศาสตร์ (S) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (O) ความเสี่ยงด้านการเงิน (F) และ ความเสี่ยงด้านการประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ (C) โดยภาควิชา ศูนย์ และงานต่าง ๆ สามารถระบุประเด็นความเสี่ยงเฉพาะของตนเองเพิ่มเติมเข้ามาในแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงของตนได้ โดยในปีงบประมาณ 2563 ได้เพิ่มประเด็นความเสี่ยงภาคบังคับเพื่อให้ช่วยกันพิจารณาในด้านอัคคีภัยและระบบไฟฟ้าขัดข้องเพิ่มเติมด้วย

การบริหารจัดการความเสี่ยง 2563

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อสรุปแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2563 ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เวลา 0900-1200

ผลการบริหารจัดการความเสี่ยง 2562 (รอบ 6 เดือน)

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดการประชุมสรุปผลการบริหารจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2562 รอบ 6 เดือน (ต.ค. 2561 – มี.ค. 2562) เพื่อหาโอกาสพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะฯ กำหนดการ วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2562 0900 เริ่มการประชุม (ผู้เข้าร่วมประชุมรับเอกสารและของว่างก่อนการประชุม) 0905 เปิดการประชุมโดยรองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ 0910 กรณีศึกษา ผลการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะฉุกเฉิน กรณีมลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5 ที่นำไปสู่การประกาศหยุดงานในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ( https://quality.sc.mahidol.ac.th/airpollution2019/ ) 0930 การรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2562 รอบ 6 เดือน ของภาควิชา ศูนย์ และงานต่าง ๆ 11:30 สรุปการประชุม 12:00 ปิดการประชุมและรับประทานอาหารกลางวัน ทั้งนี้ทางงานนโยบายและพัฒนาคุณภาพจะได้สรุปรายงานเพื่อแจ้งในที่ประชุมกรรมการประจำคณะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการความเสี่ยงภายในส่วนงานกันต่อไป และนำผลการบริหารจัดการความเสี่ยงรอบ 6

การจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง 2562

การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2562 วันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 กำหนดการ 0830 ลงทะเบียน 0900 เริ่มการประชุม 0905 รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ชี้แจงวัตถุประสงค์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 0910 ผู้แทนภาควิชารายงานแผนบริหารความเสี่ยงของภาควิชา ปีงบประมาณ 2562 1030 ผู้แทนส่วนงานในสำนักงานคณบดีรายงานแผนบริหารความเสี่ยงของงาน ปีงบประมาณ 2562 1130 อภิปรายประเด็นความเสี่ยง การบริหาร และแนวทางพัฒนา 1200 ปิดการประชุม ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 2561

เอกสารประกอบ 1 (ใหม่) คู่มือการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 2 (ใหม่) แบบสำรวจประเด็นความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 3 (ใหม่) แบบสำรวจการดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน 2561 เอกสารประกอบ 4 แบบฟอร์มรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 5 แบบฟอร์มรายงานแผนปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยง 2561 ฐานข้อมูลความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงระดับสถาบัน 2559 ความเสี่ยง 2559 ความเสี่ยง 2558 เอกสารประกอบการชี้แจงการทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561 (ศูนย์ความเสี่ยง วันที่ 16 มิ.ย. 2560) ให้ข้อเสนอแนะแก่งานนโยบายฯ เรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง (Google Form) ลิงก์: ดาวน์โหลดเอกสาร (บน) ภาพการชี้แจงการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปผลการจัดการความเสี่ยง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2560

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพจัดการประชุมรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 6 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2560 ณ ห้อง K101 วันพุธที่ 5 เมษายน 2559 เวลา 0900-1200

ความเสี่ยงระดับสถาบัน

ประเด็นหรือเหตุการณ์ความเสี่ยง (อัพเดท 2559) ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (เป้า = จำนวนอาจารย์x1 + จำนวนผศ.x2 + จำนวนรศ.x3 จำนวนศ. x4 เปเปอร์ต่อปี) ความเสี่ยงที่การเผยแพร่ อ้างอิง ผลงานวิจัยในระดับชาติและระดับนานาชาติน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (ตัววัด citation, h-index) ความเสี่ยงที่จำนวนทุน/เงินทุนวิจัยลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ความเสี่ยงที่คณะฯ ไม่สามารถนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ความเสี่ยงที่นักวิจัยจะมีการทำผิดจริยธรรมการนำเสนอผลงานวิจัย เช่น plagiarism ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อลดลง ความเสี่ยงที่หลักสูตรจะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ความเสี่ยงที่หน่วยงานที่จำเป็นต้องมีการรับรองมาตรฐาน ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือไม่ได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน ความเสี่ยงที่คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และส่งผลต่อการจบการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการดำเนินการฟ้องร้อง ร้องเรียน จากการดำเนินการของคณะฯ ความเสี่ยงที่รายจ่ายจะสูงกว่ารายรับ ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะหยุดชะงักโดยไม่ได้มาจากการวางแผนล่วงหน้า (เช่นปิดซ่อมแซม) ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะโดนล่วงล้ำจากผู้ไม่ประสงค์ดี หรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพสูงหรือมีศักยภาพมาปฏิบัติงานได้ ความเสี่ยงที่ระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ EdPEx ไม่เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยต่อจำนวนนักวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่จำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่นักวิจัยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (4×4=สูงมาก)

ประเด็นความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2559

ความเสี่ยงที่ผลงานงานวิจัยไม่ได้รับการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาลดลง ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่พ้นสภาพจะมากขึ้น ความเสี่ยงที่มีจำนวนรายวิชาขอแก้ไขผลการศึกษามากขึ้น ความเสี่ยงที่ไม่สามารถดูแลความเจ็บป่วยของนักศึกษาได้ทันท่วงที ความเสี่ยงที่มีการส่ง มคอ. 5 และ มคอ. 7 ล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำหนด ความเสี่ยงที่การนำ AUN-QA ไปใช้ในระดับหลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่มีการถูกปรับเนื่องจากไม่สามารถให้บริการวิชาการได้ตามสัญญา ความเสี่ยงที่บริหารเงินเดือนและค่าตอบแทนจากเงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ความเสี่ยงที่จะมีชาวต่างชาติเป็นโรคติดต่อร้ายแรงเข้ามาในคณะวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (action plan) ไม่เป็นไปตามแผน ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในคณะฯ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจรกรรมในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของสารเคมี ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เนื่องจากไฟฟ้าดับ ความเสี่ยงที่จะประชาสัมพันธ์ด้วยเนื้อหาที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ความเสี่ยงที่มีการพบว่าประเด็นเสี่ยงต่อการทุจริตหรือทำผิดจากศูนย์ตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ความเสี่ยงที่จะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ควาเสี่ยงที่จะมีสื่อเชิงลบกับคณะฯ ปรากฎบนสื่อออนไลน์ และสื่อแบบเดิม ความเสี่ยงที่จะมีผู้เข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่การสำรองข้อมูลสารสนเทศ ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ระบบคอมพิวเตอร์หยุดชะงักและกระทบต่อการให้บริการของคณะฯ ความเสี่ยงที่จะมีการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ความเสี่ยงที่คณะฯ จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบเชิงอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของคณะฯ

การบริหารความเสี่ยง 2559

ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559 ณ ห้อง 401 ศูนย์การเรียนรู้ ม.มหิดล ศาลายา เวลา 1300-1600 ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง

ประเด็นความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2558

ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยงที่จะมีการแก้ไขผลการศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินของนักศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการยกเลิกสัญญาจ้างบริการวิชาการจนส่งผลเสียต่อคณะ ความเสี่ยงที่จะถูกปรับเงินเนื่องจากไม่สามารถทำตามสัญญาจ้างบริการวิชาการได้ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถบริหารและจัดสรรเงินเดือนและค่าตอบแทนฯได้ ความเสี่ยงที่จะไม่มีการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ความเสี่ยงที่มีชาวต่างชาติเป็นโรคติดต่อร้ายแรงเข้ามาในคณะฯ ความเสี่ยงที่การดำเนินตามแผนปฏิบัติการไม่เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัย ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุภายในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจรกรรมหรืออาชญากรรมภายในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดภายในคณะ ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบ (จราจล,ชุมนุมประท้วง) จนไม่สามารถมาทำงานที่คณะฯได้ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่ศาลายาได้เนื่องจากอุทกภัย/พายุ ความเสี่ยงที่คณะฯจะให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาสัมพันธ์ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ ความเสี่ยงที่จะพบประเด็นข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบของศูนย์ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยมหิดล ความเสี่ยงที่เงินนอกงบประมาณลดลง ความเสี่ยงที่รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย ความเสี่ยงที่เกิดการหยุดชะงักของระบบเครือข่ายโดยไม่ได้คาดหมาย ความเสี่ยงที่จะมีการเข้าถึงข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่ข้อมูลในระบบแม่ข่ายสูญหาย ความเสี่ยงที่จะขาดบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่อในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

Solverwp- WordPress Theme and Plugin