ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดจ้างบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามข้อกำหนดมาตรา 44 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 โดยมหาวิทยาลัยมหิดลจะต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมิน ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และทุกส่วนงานต้องได้รับการประเมิน ทั้งส่วนงานที่จัดตั้งตามมาตรา 10 และส่วนงานที่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีที่มีลักษณะการบริหารงานคล้ายส่วนงาน รวมทั้งสิ้น 42 หน่วยงาน 

 

                  บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำในการออกแบบระบบการประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร มีประสบการณ์และชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านการประเมินผลการดำเนินงานให้แก่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และภาคเอกชน โดยผลการประเมิน ข้อมูลและเอกสารประกอบต่างๆ จะส่งมอบต่อผู้ว่าจ้างเท่านั้น และทริสได้ลงนามในสัญญาจ้างในโครงการ ซึ่งระบุเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของที่ปรึกษาไว้ชัดเจนในข้อ 3.4 ว่าบรรดาเอกสารที่ที่ปรึกษาได้จัดทำขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ให้ถือเป็นความลับ และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างคือมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาจะต้องส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นสุดสัญญา ที่ปรึกษาจะเก็บสำเนาเอกสารไว้กับตนได้ แต่ต้องไม่นำข้อความในเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากมหาวิทยาลัยก่อน

กรอบการประเมินผลในระดับส่วนงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. กรอบการประเมินผล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ใช้ตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผล 5 มิติ

กรอบการประเมินผลจำนวน (ตัวชี้วัด)
มิติที่ 1  ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน

23

มิติที่ 2  คุณภาพการให้บริการ

8

มิติที่ 3  ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

3

มิติที่ 4  การบริหารจัดการและการกำกับดูแลที่ดี

16

มิติที่ 5  ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

6

 

56

เกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละตัวชี้วัด

ระดับคะแนน
เกณฑ์การประเมินผล
0
ยังไม่มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในด้านนี้
1
มีผลการดำเนินงาน แต่ไม่บรรลุเป้าหมาย
2
มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 1-2 ปีงบประมาณ
3
มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 3-4 ปีงบประมาณ
4
มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย 3-4 ปีงบประมาณ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ดีตั้งแต่ 3 ปีงบประมาณเป็นต้นไป

2. การประเมินผลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

วิธีการ

  1. สำรวจสถานะผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจากแต่ละส่วนงานเกี่ยวกับกระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ในประเด็นที่สำคัญที่มุ่งเน้น

  2. ประมวลผลคำตอบจากประเด็น Checklist เพื่อคัดกรองหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องประเมินผลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

  3. สัมภาษณ์ผู้บริหารของส่วนงาน เพื่อกำหนดสถานการณ์จำลอง (Scenario) จากสถานการณ์วิกฤติหรือสภาพปัญหาของแต่ละส่วนงานที่ต้องเผชิญ แบบ Extreme case

  4. วิเคราะห์ และสรุปผลการประเมิน

  5. ให้ข้อเสนอแนะต่อส่วนงานเพื่อปรับปรุง/ยกระดับผลการดำเนินงาน และการบริหารจัดการ

แนวทางการสรุปผลการประเมิน

เมื่อที่ปรึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลจากการสัมภาษณ์ฯ รวมถึงข้อมูลเชิงปริมาณที่จำเป็นในการคำนวณตัวชี้วัดที่สำคัญ และสอดคล้องกับปัญหาที่ส่วนงานเผชิญอยู่ ที่ปรึกษาจะสรุปผลการประเมินเพื่อพิจารณาแนวโน้มอนาคต และความยั่งยืนของส่วนงานในระยะ 3 ปีข้างหน้า โดยจำแนกเป็น 3 สี ได้แก่

           สีเขียว หมายถึง ผลการดำเนินงานในอนาคต (ระยะสั้น) คาดการณ์ว่าส่วนงานสามารถดำเนินงานได้ดีอย่างต่อเนื่อง มีผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ                                                เป็นไปตามเป้าหมาย และ/หรือดีกว่าเป้าหมาย

           สีเหลือง หมายถึง ผลการดำเนินงานในอนาคต (ระยะสั้น) คาดการณ์ว่าส่วนงานสามารถดำเนินงานได้ระดับหนึ่ง มีผลการดำเนินงานเชิงปริมาณ                                                        ต่ำกว่าเป้าหมาย

           สีแดง หมายถึง ผลการดำเนินงานในอนาคต (ระยะสั้น) คาดการณ์ว่าส่วนงาน มีโอกาสจะดำเนินงานด้วยความยากลำบาก มีผลการดำเนินงานเชิง                                                     ปริมาณต่ำกว่าเป้าหมายมาก

3. การประเมินผลส่วนงานด้วยการสำรวจความพึงพอใจ/ทัศนคติ/ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั้งภายในและภายนอกส่วนงาน

การดำเนินงานจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 คะแนนเฉลี่ยความผูกพันของบุคลากร ประเด็นคำถามจะสำรวจความผูกพันของบุคลากรในมุมมองภาพรวม 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2556-2559)

ส่วนที่ 2 ระดับความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต ส่วนงานจัดเตรียมฐานข้อมูลผู้ใช้บัณฑิตที่สำรวจในปี 2559 เพื่อ TRIS สอบทานผลสำรวจด้วยการสุ่มสำรวจซ้ำส่วนงานละไม่เกิน 30 ตัวอย่าง

แนวทางการสรุปผลการประเมิน

– พิจารณาผลสำรวจของส่วนงานในปี 2559 และผลสำรวจของ TRIS ว่ามีผลเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่

– หากผลงานบรรลุเป้าหมายทุกปีงบประมาณ และผลสำรวจของส่วนงานและ TRIS มีความสอดคล้องหรือเป็นในทิศทางเดียวกัน หรือแปลความหมายของคะแนนได้เหมือนกัน ก็จะได้ระดับคะแนนสูงสุดที่ 4.00 คะแน 

กำหนดการดำเนินงาน ประจำปี 2560

กำหนดการ การดำเนินงาน
ปี พ.ศ. 2560
มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดให้ TRIS Corp. เป็นผู้ประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่ 3 เมษายน 2560
มหาวิทยาลัยจัดประชุมชี้แจงกรอบการประเมินและการจัดเก็บข้อมูลให้แก่ส่วนงาน
วันที่ 7 เมษายน 2560
คณะวิทยาศาสตร์ จัดประชุมชี้แจงแนวทางการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินส่วนงาน โดย บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้กับผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้างาน
วันที่ 25 เมษายน 2560
คณะวิทยาศาสตร์ส่งแบบสำรวจสถานะไปยังมหาวิทยาลัย
วันที่ 4 พฤษภาคม 2560
คณะวิทยาศาสตร์ ส่งข้อมูลเพื่อการประเมินส่วนงานไปยังมหาวิทยาลัย
วันที่ 15-23 มิถุนายน 2560
บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น สัมภาษณ์ผู้บริหารของส่วนงาน ประกอบการวิเคราะห์สถานการณ์ ในระยะ 3 ปีข้างหน้า (Scenario Analysis)
วันที่ 20 ธันวาคม 2560
รายงานผลการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมินซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ตามผลการประเมินที่นำเสนอในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 527
10 พฤษภาคม 2561
สภามหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผลการประเมินส่วนงาน (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัททริสคอร์ปอเรชันให้แก่คณะวิทยาศาสตร์
22 สิงหาคม 2561
แจ้งที่ประชุมกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ เรื่อง หนังสือขอบคุณต่อข้อคิดเห็นจากการประเมินฯ
ข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฏาคม 2564

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 
วันวิสา เจริญยศ  โทร .0-2201-5035

Solverwp- WordPress Theme and Plugin