ดำเนินการอย่างไร เพื่อให้หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA ครบทุกหลักสูตรก่อนเป้าหมาย ?

            คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยมหิดลใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร และประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 259  ทำให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับเกณฑ์ต่าง ๆ ดังกล่าวในปีการศึกษา 2559 หรือ 2560 ตามวงรอบของการปรับปรุงหลักสูตร ประกอบกับ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network – AUN) และได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ AUN มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมหนึ่งภายใต้เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนที่จัดขึ้นเพื่อรองรับการเปิดเสรีภาพด้านการศึกษา คือ การสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (AUN Quality Assurance – AUN-QA) อีกทั้งยังสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในยุทธศาสตร์ที่ 2 เรื่อง Excellence in outcome-based education for globally – competent graduates ที่ต้องการให้มีหลักสูตรผ่านการรับรองคุณภาพระดับสากล

              คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จำนวน 18 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จำนวน 18 หลักสูตร งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประสานงานและดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ตามกระบวนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN–QA จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดล แบบผสมผสาน Onsite & Online (MU AUN-QA Hybrid Assessment) รายละเอียดตามเอกสารแนบ 1 เพื่อให้การดำเนินการเรื่อง AUN-QA เป็นระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนทำให้ทุกหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA โดยคณะกรรมการตรวจประเมินระดับมหาวิทยาลัย (MU AUN-QA) ครบทั้งหมด 45 หลักสูตร (ร้อยละ 100) ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด ภายในปีงบประมาณ 2564 ก่อนหน้าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2 ปี 

โดยการนำกระบวนการ PDCA เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อให้หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA ครบทุกหลักสูตรก่อนเป้าหมาย ดังนี้

(P) Plan – การวางแผน มีการตั้งเป้าหมาย และสร้างแผนการทำงานเพื่อทำให้เป้าหมายประสบความสำเร็จ โดยการกำหนดเป้าหมายผ่านตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (MUKPI) ทุกปี และภาควิชา และกลุ่มสาขาวิชาได้จัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชา (PA) ประจำปีงบประมาณ ในส่วนของตัวชี้วัดที่ 2.1 หลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมิน/ รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตัวชี้วัดย่อย 2.1.2 หลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินภายในโดยมหาวิทยาลัย ไว้กับคณะกรรมการบริหารฯ ทั้งยังมีการจัดกิจกรรม พิธีลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เพื่อร่วมขับเคลื่อนและส่งเสริมการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานประจำปีให้สำเร็จลุล่วง รายละเอียดตาม Link : https://quality.sc.mahidol.ac.th/muscpa64/

(D) Do – ปฏิบัติ ดำเนินการประสานงานระหว่างภาควิชาที่มีแผนการรับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA โดยคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัย (MU AUN-QA) และกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดลในการบริหารจัดการเพื่อให้การรับการตรวจประเมินสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ โดยมีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โท-เอก สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ) ภาควิชาชีวเคมี เป็น 2 หลักสูตรแรกที่เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับมหาวิทยาลัย ในวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2559 โดยปฏิบัติตามแนวทางการเตรียมรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล (MU AUN-QA) รายละเอียดตามเอกสารแนบ 2.1 2.2 , 2.3

และในเวลาต่อมา หลักสูตร ป.เอก สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ) ภาควิชาชีวเคมี ได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ในวันที่ 6 – 8 กุมภาพันธ์ 2561 โดยดำเนินการตามกระบวนการรับการตรวจประเมินหลักสูตรจากคณะกรรมการระดับอาเซียน ตามเกณฑ์ AUN-QA รายละเอียดตามเอกสารแนบ 3 ทั้งยังมีการประสานงานส่งหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี ประกอบด้วย

  • การอบรม MU AUN-QA ASSESSOR (รุ่นที่ 1 – รุ่น 8) มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 36 คน รายละเอียดตาม Link : https://quality.sc.mahidol.ac.th/aun-qa-assessor/
  • การอบรมผู้ตรวจประเมินตามเกณฑ์ AUN-QA (MU AUN-QA Assessor Training): AUN-QA Criteria version 4.0 (ปี 2565) มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 2 คน (เป็นผู้ที่เคยได้รับการอบรมผู้ตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessor Training ระหว่างรุ่นที่ 1 – 8) รายละเอียดตาม Link : https://quality.sc.mahidol.ac.th/aun-qa-assessor/
  • การอบรม AUN-QA Training Course for Accomplishing Programme Assessment มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 5 คน รายละเอียดตาม Link : https://quality.sc.mahidol.ac.th/aun-qa-assessor/
  • การอบรมเชิงปฏิบัติการ “C2C For OBE : Commit to Change for OBE Curriculum Redesign Project”
  • การอบรมเชิงปฏิบัติการ “MU AUN-QA Training for Support Staff”
  • โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน (PREP4AUN-QA) ตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน

             และจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการปรับรูปแบบการตรวจประเมินเป็นรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ต้องดำเนินการตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด ได้แก่ แนวทางการดำเนินการ Online MU AUN-QA Assessment สำหรับใช้เฉพาะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รายละเอียดตามเอกสารแนบ 4 เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยขั้นตอนการดำเนินการสำหรับรับการตรวจประเมินฯ จะใช้แนวทางตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย

            รวมทั้งการรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ที่หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาเคมี มีกำหนดการรับการตรวจประเมินฯ  ในวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 ก็ต้องปรับแนวทางการดำเนินงานเป็นรูปแบบ Online ผ่านระบบ ZOOM Meetings เช่นเดียวกัน สิ่งที่งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ เข้าไปมีส่วนช่วยเพิ่มเติมนอกเหนือจากแนวทางการดำเนินงานที่ AUN กำหนดที่ต้องดำเนินการอยู่แล้วนั้น รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5.1 , 5.2 , 5.3 , 5.4  ได้แก่ การจัดทำวีดิทัศน์ แสดงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่นักศึกษาของหลักสูตรฯ เข้าใช้บริการในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งพญาไทและศาลายา โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยโสตทัศนูปกรณ์ งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยีในการจัดทำ รายละเอียดตามLink : https://drive.google.com/file/d/1gQPwN4pGed0N79_0SEni25Qr4R3OoDZj/view?usp=sharing

(C) Check – การตรวจสอบ ดำเนินการหาช่องทางและวิธีพัฒนากระบวนการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจัดให้มีกิจกรรมการทบทวนหลังปฏิบัติการ After Action Review ตั้งแต่ปี 2559- 2561 ดังนี้

  • การทบทวนหลังปฏิบัติการ After Action Review การรับเยี่ยมตามเกณฑ์ AUN-QA ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการรับตรวจเยี่ยมหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA และเพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการรับตรวจเยี่ยมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รายละเอียดตามเอกสารแนบ 6

  • การประชุมหลังการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปี 2559 ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ หัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร บุคลากรหลักสูตร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในวันพุธที่ 18 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร (AUN Quality Assurance : AUN-QA) เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทราบแนวทางการเตรียมรับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างหลักสูตรที่ผ่านการตรวจประเมินแล้ว กับหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการเตรียมรับการตรวจประเมิน และหลักสูตรที่มีแผนการดำเนินงานที่จะรับการตรวจประเมินในปี 2560 รายละเอียดตามเอกสารแนบ 7.1 , 7.2 
 
 
  • การประชุม AAR หลังการรับการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปี 2561 ในวันพุธที่ 5 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ เพื่อรายงานผลการดําเนินการ AUN-QA @MUSC แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหลักสูตรที่ผ่านการตรวจประเมินแล้ว เตรียมความพร้อมให้หลักสูตรที่จะเข้ารับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงสรุปการรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ของหลักสูตร ป.เอก สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ) ภาควิชาชีวเคมี รายละเอียดตามเอกสารแนบ 8

(A) Action – การดำเนินการ/ปรับปรุงแก้ไข มีการดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนต่างๆ ดีขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2563 เพื่อผลักดันให้หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA โดยคณะกรรมการระดับมหาวิทยาลัย (MU AUN-QA) ครบตามแผนการรับตรวจประเมินฯ โดยปีงบประมาณ 2563 มีหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ที่ต้องเข้ารับการตรวจประเมินฯ จำนวนทั้งสิ้น 12 หลักสูตร จำแนกเป็นการตรวจรูปแบบ 3.0 จำนวน 10 หลักสูตร และรูปแบบ 2.0 จำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรที่มีแผนการรับตรวจประเมินฯ ในปีงบประมาณ 2564 อีก จำนวน 6 หลักสูตร  

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA อย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทั้งรูปแบบ Onsite และ Onlineและจัดกิจกรรมเสวนาหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA อย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทั้งรูปแบบ Onsite และ Onlineและจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

           ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” ขึ้น ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 รูปแบบ Online 

ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings  ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักสูตรมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำเล่มรายงานการประเมินตนเอง (SAR) รูปแบบการจัดทำ สิ่งที่ควรเขียน สิ่งที่ต้องมีในเล่ม ตัวอย่างการเขียนเล่ม รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยตามแผนการรับตรวจประเมินฯ รายละเอียดตามเอกสารแนบ 9.1    และ Link : https://quality.sc.mahidol.ac.th/training-aun-qa

 

           จากการนำกระบวนการ PDCA เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการรับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA ดังกล่าว จึงทำให้หลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA ครบทุกหลักสูตร (ร้อยละ 100) ก่อนเป้าหมาย ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ ยังถือเป็นส่วนงานแรกๆ ที่สามารถดำเนินการส่งหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอก เข้ารับการตรวจประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ AUN-QA จากคณะกรรมการตรวจประเมินระดับมหาวิทยาลัย (MU AUN-QA) ในรูปแบบ 3.0 และ 2.0 ครบทุกหลักสูตร และเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจรวมทั้งเป็นแรงผลักดันให้หลักสูตรได้รับการตรวจประเมินฯ ในระดับอาเซียนต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ โดยคณะกรรมการประจำฯ (การประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 10/2561 วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์) จึงมีมติอนุมัติให้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา สำหรับหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรแรกของภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน หรือสูงกว่า ในวงเงิน 200,000 บาท และหลักสูตรถัดไปในวงเงิน 50,000 บาท  และจัดทำเป็นประกาศคณะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นรางวัลในผลงาน พ.ศ.2565 ในเวลาต่อมา

รายละเอียดตามเอกสารแนบ 10

จัดทำโดย

คุณลีลศร พ่วงศรี  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ระดับผู้ชำนาญการพิเศษ)

Solverwp- WordPress Theme and Plugin