
มคอ. (TQF) คืออะไร
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education,TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผล การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF
1. เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ
2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้น ๆ
3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข็งและความพร้อมในการจัดการศึกษา
โครงสร้างและองค์ประกอบของ TQF
1. ระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications)
o ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี)
o ระดับที่ 2 ปริญญาตรี
o ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต
o ระดับที่ 4 ปริญญาโท
o ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
o ระดับที่ 6 ปริญญาเอก
2. มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิของประเทศไทย มีอย่างน้อย 5 ด้าน ดังนี้
o ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals)
o ด้านความรู้ (Knowledge)
o ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)
o ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (InterpersonalSkills and Responsibility)
o ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Communication and Information Technology Skills)
การจัดทำรายละเอียดมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ)
สกอ ได้กำหนดแนวทางและแบบบันทึกจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) ดังต่อไปนี้
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ข้อมูลรายวิชา และคำอธิบายรายวิชาทั้งหมดของหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มคอ.2)
- วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง)
- วท.ม. (คณิตศาสตร์ประยุกต์)
- วท.ม. (จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน)
- วท.ม. (เคมี)
- วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- วท.ม. (ชีวเคมี)
- วท.ม. (ชีววิทยาสภาวะแวดล้อม)
- วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
- วท.ม. (พยาธิชีววิทยา)
- วท.ม. (ฟิสิกส์)
- วท.ม. (เภสัชวิทยา)
- วท.ม. (วิทยาการพืช)
- วท.ม. (สรีรวิทยา)
- วท.ม. (พิษวิทยา)
- วท.ม. (นิติวิทยาศาสตร์)
- วท.ม. (วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ)
- วท.ม. (นวัตกรรมวิทยาศาสตร์)
- ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง)
- ปร.ด. (คณิตศาสตร์)
- ปร.ด. (จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน)
- ปร.ด. (เคมี)
- ปร.ด. (เคมี)(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์)
- ปร.ด. (ชีวเคมี)
- ปร.ด. (ชีววิทยา)
- ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
- ปร.ด. (พยาธิชีววิทยา)
- ปร.ด. (ฟิสิกส์)
- ปร.ด. (เภสัชวิทยา)
- ปร.ด. (พฤกษศาสตร์)
- ปร.ด. (สรีรวิทยาการออกกำลังกาย)
- ปร.ด. (สรีรวิทยา)
- ปร.ด. (พิษวิทยา)
- ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ)
- ปร.ด. (นวัตกรรมวิทยาศาสตร์)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง