การอบรมผู้บริหารระดับกลางมหาวิทยาลัยมหิดล (EDP)

หลักสูตรการฝึกอบรม

  • กลุ่มรวมวิชาที่ 1 การบริหารตนเอง (Managing Yourself) รวม 45.5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 หมวด
    • หมวดที่ 1 (Module 1) การเรียนรู้และบริหารตนเอง (self management) รวม 30 ชั่วโมง
      • 1. ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา 18 ชั่วโมง
      • 2. การติดตามผลการประยุกต์ใช้ความเป็นผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา 9 ชั่วโมง
      • 3. การสร้างสมองแห่งความสุข สู่ความสำเร็จสำหรับผู้บริหาร 3 ชั่วโมง
    • หมวดที่ 2 (Module 2) การเสริมสร้างบุคลิกภาพทางสังคม (personality development) รวม 15.5 ชั่วโมง
      • 4. การสร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดีของผู้บริหาร 3 ชั่วโมง
      • 5. การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายที่ดีสำหรับผู้บริหาร 3.5 ชั่วโมง
      • 6. ประเพณีรับประทานอาหารแบบตะวันตก 3 ชั่วโมง
      • 7. การสื่อสารและการนำเสนออย่างมืออาชีพสำหรับผู้บริหาร
  • กลุ่มรวมวิชาที่ 2 การบริหารองค์การและภาวะผู้นำ (Managing Organization & Leadership) รวม 48 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 3 หมวด
    • หมวดที่ 1 ภาวะผู้นำและการบริการองค์กร (Leadership Organizational Management) รวม 22.5 ชั่วโมง
      • ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก
      • การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงยุทธศาสตร์
      • การบริหารมหาวิทยาลัยวิจัยสู่การเป็น World Class University
      • บทบาทสภามหาวิทยาลัยต่อการบริหารจัดการ
      • ผู้นำเพื่อการสร้างวิสัยทัศน์องค์กร
      • บทบาทผู้บริหารกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความยั่งยืน
      • เสวนาการบริหารกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความยั่งยืน
      • เสวนาการบริหารระบบการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
      • กฎหมายทั่วไป และกฎหมายควรรู้สำหรับผู้บริหาร
      • กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาองค์กร
    • หมวดที่ 2 การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) รวม 16.5 ชั่วโมง
      • การบริการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันสู่ความสำเร็จขององค์กร
      • กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์องค์กรสำหรับมหาวิทยาลัย
    • หมวดที่ 3 ธรรมาภิบาล (Good Governance) รวม 9 ชั่วโมง
      • หลักการทรงงาน: ต้นแบบของธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหาร
      • การบริการงานด้านการงบประมาณ การเงิน การบัญชี การบริหารพัสดุให้มีประสิทธิภาพ
      • เสวนามุมมองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารองค์กรสู่ความยั่งยืน
  • กลุ่มรวมวิชาที่ 3 เครื่องมือและเทคนิคในการบริหารจัดการ (Management Tool and Techniques) รวม 18 ชั่วโมง
    • เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้บริหาร
    • การบริหารความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง
    • การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อความสำเร็จและยั่งยืนขององค์กร
    • การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย
    • EdPEx กับการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น World Class University
  • กลุ่มรวมวิชาที่ 4 การจัดการทุนในภาวะการณ์แข่งขัน (Financial Capital Management) รวม 10.5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 2 หมวด
    • หมวดที่ 1 การจัดการทุนการเงิน (Financial Capital Management)  รวม 4.5 ชั่วโมง
      • การบริหารการจัดงบประมาณและการเงินของมหาวิทยาลัย
      • กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย
    • หมวดที่ 2 การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management) รวม 6 ชั่วโมง
      • การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเป็นเลิศขององค์กร
  • กลุ่มรวมวิชาที่ 5 การบริการจัดการสู่อนาคต (Management for the Future) รวม 4.5 ชั่วโมง
    • การศึกษาดูงาน ณ Bathroom Design/ 3M/ GISTDA/ KTC/ DTAC/ Google Thailand/ รพ.บำรุงราษฎร์
    • University Ranking VS World Class University
  • ส่วนเพิ่มเติม (56.5 ชั่วโมง)
    • เสวนาแลกเปลี่ยนหัวข้อตามความสนใจของผู้เข้าอบรม 3 ชั่วโมง
    • Executive Lunch Talk 2 ชั่วโมง
    • ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 3 ชั่วโมง
      • ศึกษาดูงานในหัวข้อ “Excellence in treatment standards and excellence in service and management standards” พร้อมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารโรงพยาบาลฯ
    • การศึกษาดูงาน ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย 4วัน 3 คืน เสวนาเตรียมข้อมูลศึกษาดูงาน สรุปและถอดบทเรียน/นำเสนอสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหน่วยงาน ส่วนงาน และมหาวิทยาลัย (งานกลุ่ม 1 ชิ้น) 27 ชั่วโมง
    • การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล 21.5 ชั่วโมง
      • ระดมสมองจัดทำสารนิพนธ์
      • เสวนาพูดคุยเพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม
      • ศึกษาค้นคว้าเก็บข้อมูลและประมวลผลเพื่อสรุป และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม
      • นำเสนอรายงานผลการศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมในวันปิดโครงการ

ผู้เข้าอบรม EDP #15

การอบรมบุคลิคภาพ วันที่ 6 ตุลาคม 2559

การอบรมบุคลิคภาพ วันที่ 6 ตุลาคม 2559

กำหนดการ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559

  • 08.50-09.20 น. ลงทะเบียน ณ ห้องทวีวัฒนา ชั้น6 ศูนย์ปฏิบัติการศาลายาพาวิลเลียน วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล ศาลายา
  • 09.30 น. กล่าวรายงานพิธีเปิดโครงการฯ โดย รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์: รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • 09.30-11.00 น. พิธีเปิดและบรรยายพิเศษ “ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก”  โดย ศ.คลินิกนพ.อุดม คชินทร: อธิการบดีม.มหิดล
  • 11.15-12.00 น. ชี้แจ้งหลักสูตร/กิจกรรมแนะนำตัว โดยนางจริยา ปัญญา: ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล
  • 12.00-13.00 น. วัดตัวตัดเสื้อสูท/รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00-16.00 น. ชี้แจ้งหลักสูตร/กิจกรรมแนะนำตัว โดยนางจริยา ปัญญา: ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. การบริหารงานด้านการงบประมาณ การเงิน การบัญชี การบริหารพัสดุให้มีประสิทธิภาพ โดย : อ.เฟื่องฟ้า เทียนประภาสิทธิ์
  • 13.00-16.00 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับ MU-EDP#14 เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2559

  • 09.00-10.30 น. University Ranking VS World Class University โดย : ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ: รองอธิการบดี
  • 10.45-12.15 น. การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงยุทธศาสตร์ โดย : รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์: รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • 13.00-16.00 น. EdPEX กับการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น World Class University การบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อความสำเร็จและยั่งยืนขององค์กร รศ.ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์: รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2559

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2559

  • 07.00 น. เดินทางไปต่างจังหวัด
  • 10.00-17.00 น. ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • 18.30-22.30 น กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
  • กำหนดการ
    • 0700 ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    • 0945 ถึง Fisherman’s Resort หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี ลงทะเบียนและกิจกรรมเลือกประธานรุ่น MU-EDP #15
    • 1000 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย อาจารย์ ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธีรร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน
    • 1300 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)
    • 1700 พักผ่อนตามอัธยาศัย
    • 1800 รับประทานอาหารเย็น
    • 1930 กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559

  • 09.00-20.30 น. ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • กำหนดการ
    • 0830 ลงทะเบียน ถ่ายรูปเพื่อทำทำเนียบรุ่น
    • 0900 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน
    • 1300 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)
    • 1800 รับประทานอาหารเย็น
    • 1900 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559

edp15_on_the_beach_20161011sm

  • 09.00-15.00 น. ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • กำหนดการ
    • 0830 ลงทะเบียน ถ่ายรูปเพื่อทำทำเนียบรุ่น
    • 0900 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน
    • 1300 ผู้นำแบบ “มหิดล” ตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา (ต่อ)
    • 1530 แวะซื้อของฝาก ณ ร้านนัทวัน แล้วเดินทางกลับสู่ม.มหิดล ศาลายา

วันพฤหัสที่ 13 ตุลาคม 2559

  • 09.00-16.00 น. การสื่อสารและการนำเสนออย่างมืออาชีพสำหรับผู้บริหาร โดย: คุณเบญญาภา บุญพรรคนาวิก (ครูโอ๋ AF)

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์องค์กรสำหรับมหาวิทยาลัย โดย: รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์
  • 14.00-16.00 น. บทบาทสภามหาวิทยาลัยต่อการบริหารจัดการ โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย: นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

talke_with_mu_council_president_2016

วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559

MU FIT for EDP15

MU FIT for EDP15

  • 09.30-11.30 น.การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายที่ดีสำหรับผู้บริหาร ทดสอบสรรถภาพทางกาย ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  • 11.30-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้าน Music Sqare ว.ดุริยางคศิลป์
  • 14.00-15.30 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559

  • 0900-1030 คำแนะนำในการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ โดย อ.ดร.ชลชัย อานามนารถ
  • 09.00-12.00 น. เสวนากรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาองค์กร ทีมวิทยากรภายใน (กองกฎหมาย/กองทรัพยากรบุคคล/กองบริหารงานวิจัย)
  • 10.30-16.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า  การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. ผู้นำเพื่อการสร้างวิสัยทัศน์องค์กร โดย: คุณอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
  • 13.00-16.00 น กลยุทธ์ด้านการเงินสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดย : รศ.พงศ์จิตติมา หินเธาว์

วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2559

  • 0900-1600 เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า  การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 09.00-12.00 น. กฎหมายทั่วไป และกฎหมายควรรู้สำหรับผู้บริหาร  โดย : ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
  • 13.00-16.00 น. กรณีศึกษา: การทำ Branding ของมูลนิธิรามาธิบดี คุณพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ: ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดี

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2559

  • 09.00-16.00 น. เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้บริหาร โดย : ดร.สุชาติ สังข์เกษม

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. การติดตามผลการประยุกต์ใช้ความเป็นผู้นำแบบมหิดลตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย : อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • 13.00-16.00 น. การบริหารความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง โดย : ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-16.00 น. กระบวนการวางแผนและจัดทำแผนกลยุทธ์ โดย : ดร.รัฐ ธนาดิเรก

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-16.00 น. การบริหารแผนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จขององค์กร โดย : ดร.รัฐ ธนาดิเรก

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. บทบาทผู้บริหารกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความยั่งยืน โดย : อ.ดร.สมประสงค์ โกศลบุญ
  • 13.00-16.00 น. เสวนาการบริหารระบบการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 โดย : ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. หลักการทรงงาน: ต้นแบบของธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหาร โดย : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
  • 13.00-16.00 น. เสวนาเตรียมการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-16.00 น.การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเป็นเลิศขององค์กร โดย : รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559

  • ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย
    • 0430 ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ไปสนามบินดอนเมือง
    • 0545 พร้อมกันที่สนามบินดอนเมือง
    • 0730 ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่สนามบินแม่ฟ้าหลวง เที่ยวบิน DD8714
    • 0930 ออกเดินทางจากสนามบินแม่ฟ้าหลวง ไปยังโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    • 1000 รับประทานอาหาว่างหน้าห้องออดิทอเรียรม หอแห่งแรงบันดาลใจ ทำกิจกรรม ทำความรู้จัก และความคาดหวังในการศึกษาดูงาน
    • 1030 ฟังการบรรยายในหัวข้อ “หลักการพัฒนาตามตำราแม่ฟ้าหลวง และการพัฒนาชั้นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” และศูนย์ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง การพัฒนาที่มีประสิทธิผลต้องเริ่มจากข้อมูลจริง และการพัฒนาต้องวัดผลได้ โดยการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และพูดคุยกับชาวบ้านอาวุโสถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ก่อนโครงการเข้ามา ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน ณ ห้องครัวตำหนัก
    • 1300 ชมหอแห่งแรงบันดาลใจ เรื่องราวของราชสกุลมหิดล ผ่านพระราชจริยวัตร ปรัชญา และหลักการทรงงานที่เรียบง่าย พระวิริยะอุตสาหะ ที่มุ่งพัฒนาชีวิตความเป้นอยู่ที่ดีของคนไทย และสร้างประโยชน์สุขแก่แผ่นดินที่ต่างทรงเป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน เพื่อให้คนไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจ บทบาทของราชสกุลมหิดล ที่มีต่อคนไทยและแผ่นดิน อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมคิดดี มุ่งมั่นประพฤติดี เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมต่อไป
    • 1345 เดินทางสู่แปลงป่าเศรษฐกิจ บริษัทนวุฒิ จำกัด ไซต์ 1
    • 1400 ดูงานแปลงปลูกป่าเศรษฐกิจ แมคคาเดเมียนัท กาแฟอาราบิก้าดอยตุง และโรงงานแปรรูปแมคคาเดเมียนัท
      • โดยป่าเศรษฐกิจหมายถึง ป่าไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และมีศักยภาพในการนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถสร้างรายได้ให้คนดูแลในระยะยาว จึงเป็น ตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้อย่างพึ่งพากัน พืชเศษรฐกิจที่โครงการพัฒนาอยตุงฯ เลือกมาส่งเสริมคือ กาแฟพันธุ์อาราบิก้าและแมคคาเดเมีย โดยระดมทุนจากบริษัท 6 แห่ง จัดตั้งบริษัทนวุฒิ จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินการปลูกป่าเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยระบุไว้ในบริคณห์สนธิของบริษัทว่าผลกำไรทั้งหมดจะนำกลับไปพัฒนาดอยตุงต่อไป
    • 1500 ออกเดินทางไปโครงการปลูกป่าปางมะหัน ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    • 1730 ถึงโครงการปลูกป่าปางมะหัน เข้าที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย
    • 1830 รับประทานอาหารค่ำ ที่สำนักงานโครงการปลูกป่าปางมะหัน
    • 1930 กิจกรรมถอดบทเรียน การเรียนรู้ประจำวัน ณ ศาลากิจกรรม
    • 2100 พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2559

  • ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย
    • 0800 รับประทานอาหารเช้า ณ สำนักงานโครงการปลูกป่าปางมะหัน
    • 0900 บรรยายสรุป “การปลูกป่าปลูกคน” ด้วยวิธีการ “ปลูกป่าแบบปลูกเสริม” พื้นที่ปางมะหัน โดยคุณอาและอ่วยแม และ “การปลูกป่าแบบไม่ปลูก” พื้นที่ปูนะ โดยคุณอภิสิทธิ์ ปอดอแก้ว ณ ศาลายกิจกรรม สำนักงานปางมะหัน
      • ย้อนหลังกลับไปดูสภาพการพัฒนาขั้นต้นน้ำ ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 พื้นที่บ้านปางมะหัน ตำบลเทอดไท อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียบงราย บนพื้นที่ 14,015 ไร่ ตามแนวชายแดนไทย-พม่า โครงการปลูป่าปางมะหัน เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2548 โดยการนำหลักการความรู้ และข้อผิดพลาดเรื่องการปลูกป่า ปลูกคน ของดอยตุงมาปรับใช้
    • 1000 รับประทานอาหารว่าง ณ ศาลากิจกรรม สำนักงานปางมะหัน
    • 1030 พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ ในพื้นที่โครงการปลูกป่าปางมะหัน และปูนะ เกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ก่อนและหลังโครงการฯ เข้ามา
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน ณ สำนักงานโครงการปลูกป่าปางมะหัน
    • 1300 เดินเท่้าจากสำนักงานปางมะหัน ไปยังกองทุนสุกรเหมยซาน ที่หมู่บ้านปางมะหัน ระหว่างเส้นทางจะได้เห็น พื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ทำกินของชาวบ้าน และพื้นที่ปลูกชาน้ำมัน
    • 1530 รับประทานอาหารว่างพร้อมฟังบรรยายธนาคารสุกรเหมยซานของโครงการปางมะหัน
    • 1600 เดินทางจากกองทุนฯ กลับไปยังโครงการพัฒนาดอยตุงฯ
    • 1800 เข้าที่พักดอยตุงลอด์จ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
    • 1900 รับประทานอาหารค่ำ ณ ครัวศาลาลีลาวดี
    • 2000 ถอดบทเรียนการเรียนรู้ประจำวัน ณ ห้องคลับ 31
    • 2130 พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2559

  • ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย
    • 0800 รับประทานอาหารเช้า ณ ศาลาลีลาวดี
    • 0900 ออกเดินทางไปยังศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
    • 0930 ดูโรงงานทอผ้าเย็บผ้า โรงานกระดาษสา โรงงานคั่วกาแฟ และโรงงานเซรามิก ที่ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ
      • พัฒนาจากโรงฝึกอาชีพหัตถกรรมและอุตสาหกรรมที่ตั้งชึ้นเพื่อสร้างงานสร้างรายได้สำหรับทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย มีการศึกษาหรืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คนสูงอายุแต่ยังทำงานได้ หรือคนหนุ่มสาว โดยการต่อยอดความชำนาญและภูมิปั๗๗าท้องถิ่นและเน้นการพัฒนา “เพิ่มมูลค่า” ผลิตภัณฑ์งานมือต่าง ๆ ตลอดเวลา “ห่วงโซ่มูลค่า” (value chain) อย่างครบวงจรด้วย “เทคโนโลยีที่เหมาะสม” เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์ ได้รูปแบบและคุณภาพตามที่ “ตลาดต้องการ” ปัจจุบันงานหัตถกรรมเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจสำคัญที่นอกจากจะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ แล้วยังช่วยทำให้โครงการ “สามารถเลี้ยงตนเองได้” โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณของรัฐ หรือเงินบริจาค นอกจากนั้นความหลากหลายของกิจกรรมสร้างรายได้นี้ยังเป็นการ “กระจายความเสี่ยง” ความล้มเหลวทางธุรกิจของหน่วยธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งด้วย
      • รับประทานอาหารว่างหน้าโรงคั่วกาแฟ
    • 1130 เดินทางไปยังครัวตำหนัก
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน ณ ครัวตำหนัก
    • 1300 ชมพระตำหนักดอยตุง
      • พระตำหนักดอยตุงเป็นที่ประทับและที่ทรงงานของสมเด็จย่า เพื่อพระองค์จะได้สังเกตและทำงานพัฒนาอย่างใกล้ชิด “บ้านที่ดอยตุง” เกิดจากพระราชกระแสรับสั่ง “ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ฉันจะไม่สร้างบ้านอยู่ที่นี่” พระตำหนักดอยตุงจึงเป็นสัญลักษณ์แสดงความเรียบง่ายและการทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรของพระองค์
    • 1330 ออกเดินทางไปองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง
    • 1340 พูดแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารองค์การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง และคนรุ่นใหม่ของดอยตุง
      • ผู้บริหารคนรุ่นใหม่ขอดอยตุง ที่เกิดจากการสร้างคน (อาสา คพต.พ.) ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ตอนเริ่มต้นมี 144 คน ปัจจุบันอาสาสมัครเหล่านี้กลายเป็นผู้นำของชุมชนถึง 90% และได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของสมเด็จย่าไปใช้ในการบริหารจัดการในชุมชนของตนเอง (พร้อมรับประทานอาหารว่างหน้าศาลาประชุม อบต. แม่ฟ้าหลวง)
    • 1530 ออกเดินทางไปสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ดอยช้างมูบ ย้อนดูดอยตุงในอดีต
    • 1600 ชมสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ดอยช้างมูบ สวนดอกกุหลาบพันปี
      • สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ตั้งอยู่บริเวณจุดสูงสุดขอเทือกเขาดอยนางนอน ที่ความสูง 1,509 เมตรจากระดับน้ำทะเล อดีตเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น และเป้นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดที่สำคัญของอาณาบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ปัจจุบันทางโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้สร้างเป็นสวนดอกกุหลาบพันปี โดยรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ จาก 4 ทวีปทั่วโลก
    • 1700 ชมอาทิตย์อัสดง ณ ฐานทหารดอยช้างมูบ และเดินทางกลับที่พักดอยตุงลอด์จ
    • 1800 เดินทางไปยังดอยตุงลอดจ์
    • 1830 รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารครัวลีลาวดี
    • 1930 กิจกรรมถอดบทเรียนการเรียนรู้ประจำวัน ณ ห้องคลับ 31
    • 2100 พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2559

  • ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย
    • 0700 รับประทานอาหารเช้า ณ ศาลาลีลาวดี พร้อมเช็คเอาท์
    • 0800 ฟังบรรยายสรุปเรื่อง “การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่โครงการฯ” ณ ห้องประชุมวีไอพี อาคารเอนกประสงค์
    • 0900 ออกเดินทางไปยังโรงเรียนขาแหย่งพัฒนา
    • 0910 ชมการเรียนรการสอนแบบบูรณาการ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยใช้หลักสูตร Montessori ของโรงเรียนขาแหย่งพัฒนา
    • 1000 ออกเดินทางกลับไปยังห้องประชุมวีไอพี อาคารเอนกประสงค์
    • 1020 รับฟังการบรรยายสรุปเรื่องการพัมนาตามตำราแม่ฟ้าหลวง และโครงการขยายผล ณ ห้องประชุมวีไอพี อาคารเอนกประสงค์
    • 1200 รับประทานอาหารกลางวัน ณ ครัวตำหนัก
    • 1300 กิจกรรมชมสวนแม่ฟ้าหลวง พร้อมทำกิจกรรม Tree Top Walk Way ทางเดินเรือนยอดไม้
      • สวนแม่ฟ้าหลวงเป็นวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักช่วยสร้างงานและรายได้ให้ดอยตุง ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะอาชีพที่หลากหลาย ตั้งแต่การท่องเที่ยวหลักที่ช่วยสร้างงานและรายได้ให้ดอยตุง ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะอาชีพที่หลากหลาย ตั้งแต่การท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และโรงเพาะปลูก ซึ่งทักษะและรายได้เหล่านี้ถือเป็นการสร้างพลังให้ชุมชน เปลี่ยนอาชีพให้ชาวบ้านหลายคนจาการเป็นแรงงานรับจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ
      • แวะซื้อของฝากและของที่ระลึกตามอัธยาศัย
    • 1500 ออกเดินทางไปร้านของฝากนันทวรรณ หน้าทางเข้าสนามบิน
    • 1600 ซื้อของฝากตามอัธยาศัย (อีกรอบ)
    • 1645 ออกเดินทางจากร้านของฝากนันทวรรณ สู่สนามบินเชียงราย
    • 1700 เช็คอิน และรอเดินทางกลับกรุงเทพฯ
    • 1825 เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD8723

ที่มา: กำหนดการศึกษาดูงาน โครงการสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันอังคารที่ 15 ถึงวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2559

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย โดย : รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ
  • 13.00-16.00 น. กรณีศึกษา: การจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย โดย : อ.นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559

  • 08.30-11.30 น. ศึกษาดูงาน ด้าน Excellence in treatment standards and excellence in service and management standards” ณ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมเสวนาแลกเปลี่ยนพูดคุยกับศาสตราจารย์คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน
  • 11.30-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการรุณย์

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. การติดตามผลการประยุกต์ใช้ความเป็นผู้นำแบบมหิดลตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย : อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • 13.00-16.00 น. มุมมองวิธีคิดเพื่อสร้างชีวิตที่เปี่ยมสุขทั่วทั้งองค์กร (The Office : Happiness station for all) โดย : คุณพิทยากร ลีลาภัทร์

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559

  • 09.00-12.00 น. ศึกษาดูงานพร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารของบริษัท ด้าน”องค์กรแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
  • 12.30-14.00 รับประทานอาหารกลางวัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 13.00-16.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยนหัวข้อตามความสนใจของผู้เข้าอบรม รอทาบทามวิทยากรภายนอก

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 12.30-13.30 น. Executive lunch talk อธิการบดี/ศ.นพ.บรรจง/รศ.นพ.ธันย์
  • 13.30-16.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2559

  • 09.00-11.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 11.00-14.00 น. ประเพณีการรับประทานอาหารแบบตะวันตก โดย : ศ.จริยา บรอคเคลแมน

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล
  • 13.00-16.00 น. เสวนามุมมองการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารองค์กรสู่ความยั่งยืน โดย : คุณวัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์

การใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรธุรกิจ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2559

  • 09.00-12.00 น. การติดตามผลการประยุกต์ใช้ความเป็นผู้นำแบบมหิดลตามกระบวนทัศน์เชิงจิตตปัญญา โดย : อ.ดร.จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร และทีมกระบวนกรศูนย์จิตตปัญญา
  • 13.00-16.00 น. เสวนาพูดคุยความก้าวหน้า การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559

  • 11.30-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน ณ วิทยาลัยนานาชาติ
  • 13.00-16.00 น. นำเสนอรายงานผลการศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ การประยุกต์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล พิธีปิดและมอบวุฒิบัตรโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

สถิติการอบรม EDP #15

  • จำนวนผู้เข้าอบรม 42 คน
  • เพศหญิง 24 คน เพศชาย 18 คน
  • อายุเฉลี่ย 43 ปี
  • อายุงานเฉลี่ย 15 ปี
  • จำนวนชั่วโมงในการอบรมทั้งหมด 179.5 ชั่วโมง (80% เท่ากับ 143.6 ชั่วโมงที่ต้องเข้าเรียนขั้นต่ำ)
  • ค่าอบรม 5x,xxx บาท
  • จำนวนผู้เข้าอบรม EDP #15 จากคณะวิทยาศาสตร์ รวม 3 คน ได้แก่
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย (ภาควิชาฟิสิกส์)
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ)
    • อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคูณภาพและบริหารความเสี่ยง (ภาควิชาชีววิทยา)

จำนวนผู้ผ่านการอบรม EDP

ปี พ.ศ. 2556 2557 2558 2559
จำนวนผู้ผ่านการอบรม EDP ของมหาวิทยาลัยมหิดล 85 36 38 42
จำนวนผู้ผ่านการอบรม EDP (2556 สะสม) (21) 1 1 3

หัวข้อสารนิพนธ์การอบรม EDP

  • EDP #1
    • การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
    • การศึกษาภาคชุมชนนานาชาติระดับอุดมศึกษา
    • การให้บริการวิชาการด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคการเปลี่ยนแปลง
    • การบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง: ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในยุคการเปลี่ยนแปลง
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 1
      • ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
      • รศ.ดร.บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์
      • รศ.ดร.พวงผกา อัมพันธ์จันทร์
  • EDP #2
    • การวิเคราะห์รูปแบบระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยมหิดลในมิตของการนำไปใช้ใน 4 หน่วยงาน
    • ข้อเสนอแนะในการจัดหลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล
    • การจัดการงานวิจัย
    • มหาวิทยาลัยมหิดลในศตวรรษที่ 21 ในมิติการบริการวิชาการสังคม
    • MU Braqnd ภายใต้หัวข้อ “มหิดล มหาวิทยาลัยแห่งศตวรรษที่ 21”
    • Mahidol University in the 21st Century: Mahidol’s ITCS
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 2
      • รศ.ดร.สุขุมาล จงธรรมคุณ
  • EDP #3
    • ปฏิรูปการเรียนรู้ กลยุทธ์สู่การผลิตบัณฑิตที่รู้จริง รู้นาน รู้สร้างสรรค์
    • ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    • การบริการวิชาการสู่สังคมของมหาวิทยาลัยมหิดล
    • ปัจจัยด้านสื่อที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 3
      • ผศ.ดร.กันยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน
      • รศ.ดร.ชื่นจิตต์ บุญเฉิด
  • EDP #4
    • ศักยภาพและความพร้อมในการเป็นมหาวิทบาลัยเพื่อการวิจัยในประเทศไทย
    • การบริหารกลยุทธ์ลูกค้าสัมพันธ์สู่การบริการเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหิดล
    • กลยุทธ์มหิดลสู่สากล
    • สถานการณ์และแนวโน้มการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยมหิดล
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 4
      • รศ.ดร.วิไล หนุนภักดี
      • นายณัฐพล แนวจำปา
      • นางรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล
  • EDP #5
    • การเสริมสร้างวัยรุ่นสู่การเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
    • เส้นทางสู่การเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล “MU MAN”
    • การสร้างความเป็นเลฺสในการบริการสุขภาพและบริการวิชาการ
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 5
      • รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์
  • EDP #6
    • การสร้างความเข้มแข็งศิษย์เก่ามหิดล (Strengthen MU Alumni)
    • สารสนเทศและการสื่อสารสำหรับชาวมหิดล (IT and Communication for MU People)
    • มหาวิทยาลัยมหิดลไร้ถังขยะ (MU Goes Less Toward Zero Waste)
    • ใส่ใจและแบ่งปัน (We Care, We Share)
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 6
      • รศ.ดร.ปราณี ภิญโญชีพ
      • ผศ.ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
  • EDP #7
    • มหาวิทยาลัยที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (Low Carbon University: Case Study of Mahidol University)
    • ประชาคมแข็งแรง มหิดลแข็งแกร่ง (MU Healthy Society)
    • โครงการผลึกแห่งปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล ( MU Crystal of Wisdom)
    • ช่องว่างระหว่างวัยในกลุ่มบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล (Genration Gap in Mahidol University)
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 7
      • ผศ.ดร.ศศิวิมล แสวงผล
  • EDP #8
    • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยของส่วนงานในมหาวิทยาลัย
    • 21st Century Skill Framework
    • PA กับคุณภาพชีวิตของบุคลากร
    • IT and Strategic Management
    • โอกาสในการเป็นคนมหิดล
    • Intra Social Network Leads Mahidol University to be Healthy Society
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 8
      • ผศ.ดร.ชุติมา คูหากาญจน์
      • ผศ.ดร.สมคิด อมรสมานกุล
  • EDP #9
    • ผลกระทบของการกำหนดระยะเวลาการจบการศึกษาภายใน 3 ปี ของหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต
    • การสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล
    • ความพึงพอใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีต่อสวัสดิการด้านสุขภาพ
    • ดัชนีความสุขตามแนวทาง HAPPY 8 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    • การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากผลการดำเนินการปลูกฝังค่านิยมมหาวิทยาลัยมหิดล (MAHIDOL)
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 9
      • รศ.ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์
      • รศ.ดร.วรรณพงศ์ เตรียมโพธิ์
  • EDP #10
    • ความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
    • การเป็นองค์กรแห่งความสุขกับความผูกพันในองค์กร
    • ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านการเรียนการสนอ (Teaching Professor)
    • ทัศนคติด้านความสัมพันธ์ของบุคลากรและส่วนงานที่มีต่อมหาวิทยาลัยมหิดล
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 10
      • อ.ดร.บริบูรณ์ เนาวประทีป
      • ผศ.ดร.ณัฐวุธ สิบหมู่
  • EDP #11
    • สัมพันธภาพของนักศึกษาเครือข่ายมหิดลพญาไท
    • การประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยมหิดล
    • การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในยุคโลกาภิวัฒน์
    • ทิศทางการจัดการโครงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 11
      • ผศ.ดร.สมศักดิ์ แดงติ๊บ
  • EDP #12
    • แนวทางการวางแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร (Succession Planning) ของมหาวิทยาลัยมหิดล
    • การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคลากรและนักศึกษาต่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว อันดับที่ 1 ของประเทศ
    • แนวทางการบริหารจัดการครุภัณฑ์เสื่อสภาพ หรือหมดความจำเป็นของมหาวิทยาลัยมหิดล
    • ความพึงพอใจในการใช้บริการโรงอาหารกลาง ณ ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 12
      • ศ.ดร.จงกลณี วัฒนาเพิ่มพูล
      • อ.ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์
  • EDP #13
    • Transformative Education: จากนโยบายสู่การปฏิบัติ
    • การศึกษาความชุกและพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ในบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    • มหาวิทยาลัยมหิดลกับการประกันคุณภาพ: ผลกระทบของเครื่องหมายการประกันคุณภาพต่อมุมมองทางด้านคุณภาพและการตัดสินใจสมัครของนักศึกษา
    • มุมมองของผู้บริหารต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยมหิดลในการปฏิรูปการศึกษา
    • ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 13
      • รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย
  • EDP #14
    • การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของประเทศไทยในทศวรรษหน้า
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 14
      • รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ (ประธานรุ่น EDP 14)
การส่งมอบเล่มสารนิพนธ์ของ EDP รุ่นที่ 14 ให้กับรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล

การส่งมอบเล่มสารนิพนธ์ของ EDP รุ่นที่ 14 ให้กับรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล

  • EDP #15
    • วิเคราะห์แนวคิดของการปรับมหาวิทยาลัย (reprofile university) จาก comprehensive university ไปสู่ focus university
    • การประเมินหลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหิดลในมุมมองของ Outcome-based Learning
    • แนวทางของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนให้ประเทศเข้าสู่ mode Thailand 4.0
    • การวิเคราะห์หลักสูตรของมหาวิทยาลัยด้าน acitve learning, blended learning, ภาษาอังกฤษ
    • การวิเคราะห์บทบาทของบุคลากรสายวิชาการกลุ่มอาจารย์เพื่อเพิ่มผลผลิต (productivity) ที่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (WCU) โดยเฉพาะกลุ่มอาจารย์ที่มีภาระงานด้านบริการวิชาการเป็นภาระงานส่วนใหญ่
    • บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ EDP รุ่น 15
      • รศ.ดร.ธนากร โอสถจันทร์
      • ผศ.ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี
      • อ.ดร.ณัฐพล อ่อนปาน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

Solverwp- WordPress Theme and Plugin