กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) คือ “การยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสามารถปรับตัวสำหรับงานที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต พัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัตน์ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกของธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับมาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลาย และเอกภาพเชิงระบบ” สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยให้ทัดเทียมและเป็นที่ยอมรับ
ในสากล จึงได้นำเครื่องมือพัฒนาคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในสากลว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ นั่นคือ Education Criteria for Performance Excellence ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สามารถนำมาเป็นกรอบการดำเนินงานบริหารจัดการการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้อย่างก้าวกระโดด
ปี พ.ศ. 2554-2557 คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะเดียวที่เข้าร่วมโครงการ EdPEx Fast Track Cohort1 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในโครงการต่อยอดคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ปี 2555 คณะวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนงาน 1 ใน 9 ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เริ่มใช้ระบบประกันคุณภาพ EdPEx (สกอ.)
ผู้บริหารให้ความสำคัญกับระบบประกันคุณภาพ จึงได้กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพ ไว้ในแผนกลยุทธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2555-2559 (ฉบับปรับปรุงปี 2557) ยุทธศาสตร์ที่ 6 Management Excellence ข้อ 3 เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพมาตรฐานสากล เพื่อกำหนดทิศทางและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดำเนินงานทุกอย่างต้องกระทำเพื่อคุณภาพของระบบ และคำนึงถึงผลลัพธ์ด้านการวิจัยและความสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และผู้บริหารใช้เครื่องมือคุณภาพ และเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงาน และแผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2560 -2564 กำหนดเป็นตัวชี้วัด (KPI) SC19 คะแนน EdPEx ในยุทธศาสตร์ที่ 4 Excellence in management for sustainable organization และตั้งค่าเป้าหมาย ดังนี้
SC19 คะแนน EdPEx | ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ปี 2563 | ปี 2564 |
300 | 310 | 320 | 340 | 350 |
มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการตรวจประเมินส่วนงานเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ ตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงมีแผนการดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพภายในทุกส่วนงานในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงกรกฎาคม ซึ่งกำหนดให้ส่วนงานจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์ TQA และรับการตรวจประเมินฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว
(ส่วนงานที่มีคะแนน EdPEx ตั้งแต่ 301 คะแนนขึ้นไป) มีดังต่อไปนี้
1. ประสงค์ยื่นขอรับการตรวจประเมินขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) จากสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (OTQA) มหาวิทยาลัยมหิดลจะถือว่าการตรวจประเมินจาก TQA
2. ประสงค์ยื่นขอรับตรวจการประเมินจากมหาวิทยาลัย สามารถเลือกรูปแบบการตรวจประเมินฯ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 การตรวจติดตามผลการตรวจประเมินส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx โดยส่วนงานจัดส่งเฉพาะผลลัพธ์การดำเนินงานของส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx หมวด 7.1-7.5 เป็นระยะเวลา 3 ปี และแผนการพัฒนา (Improvement Plan) ตามคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจประเมินฯ
รูปแบบที่ 2 การรับการตรวจประเมินจากมหาวิทยาลัยตามปกติ
ระดับพัฒนาการ | Process | Result |
A | 126-150 | 101-120 |
A- | 101-125 | 81-100 |
B+ | 76-100 | 61-80 |
B | 51-75 | 41-60 |
B- | <50 | <40 |
เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561 โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ลำดับ | วันที่ | ตำแหน่ง | ชื่อ-สกุล | ส่วนงานที่เข้าร่วมประเมิน |
1 | จ 15-อ 16 ก.ค. | ประธาน | รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
2 | จ 17-อ 18 มิ.ย. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ | คณะกายภาพบำบัด |
3 | พฤ 13-ศ 14 มิ.ยพ 24-พฤ 25 ก.ค. | กรรมการ | อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน | 1. โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา2. คณะเทคนิคการแพทย์ |
4 | อ 30-พ 31 ก.ค.จ 13 พ.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฎิการมณฑล | 1. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์2. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน |
5 | พฤ 25-ศ 26 ก.ค. | กรรมการ | รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล | คณะศิลปศาสตร์ |
6 | จ 15-อ 16 ก.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมวดี วงษ์แสงจันทร์ | ศูนย์จิตปัญญาศึกษา |
7 | จ 8-อ 9 ก.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร | วิทยาลัยนานาชาติ |
8 | พฤ 4-ศ 5 ก.ค. | กรรมการ | นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล | หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล |
9 | พ 26-พฤ 27 มิ.ย. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล | สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม |
10 | จ 15-อ 16 ก.ค. | กรรมการ | รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ | ศูนย์จิตปัญญาศึกษา |
11 | พฤ 11-ศ 12 ก.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง | ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ |
12 | จ 15-อ 16 ก.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
13 | อ 2-พ 3 ก.ค. | กรรมการ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารดา ชัยยานุรักษ์กุล | สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว |
14 | อ 30-พ 31 ก.ค. | กรรมการ | รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข | โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ |
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
องค์กรนำเกณฑ์เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นกรอบการประเมินคุณภาพระดับมาตรฐานโลกไปเปรียบเทียบกับระบบการบริหารจัดการของตน จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอน เริ่มจากการตรวจประเมินตนเอง ผู้บริหารจะทราบถึงสภาพที่แท้จริงว่าระบบการบริหารจัดการของตนยังขาดตกบกพร่องในเรื่องใด จึงสามารถกำหนดวิธีการและเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และเมื่อองค์กรปฏิบัติตามแผนจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความพร้อม และตัดสินใจสมัครรับรางวัล องค์กรจะได้รับการตรวจประเมินด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ตรวจประเมินโดยเฉพาะ และไม่ว่าองค์กรจะผ่านเกณฑ์รับรางวัลหรือไม่ก็ตาม องค์กรจะได้รับรายงานป้อนกลับซึ่งระบุจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อการนำไปวางแผนปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป
องค์กรที่ได้รับรางวัลจะเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และมีสิทธิ์ใช้ตราสัญลักษณ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งสื่อถึงความเป็นเลิศในระบบการบริหารจัดการในการโฆษณาประชาสัมพันธ์องค์กร รวมทั้งมีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการ นำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จและเปิดโอกาสให้มีการเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)
องค์กรที่มีคะแนนผลการตรวจประเมินสูงกว่า 650 คะแนน
รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC
องค์กรที่มีคะแนนผลการตรวจประเมินสูงกว่า 350 คะแนน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้
1. TQC Plus: มีระดับคะแนนที่สูงกว่า 450 คะแนน และหมวด 1 อยู่ในช่วงคะแนน 50-65% ขึ้นไป รวมถึงมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ ดังนี้
TQC+: Customer มีช่วงคะแนน 50-65% ขึ้นไป ในหมวด 3 และผลลัพธ์ 7.2
TQC+: People มีช่วงคะแนน 50-65% ขึ้นไป ในหมวด 5 และผลลัพธ์ 7.3
TQC+: Operation มีช่วงคะแนน 50-65% ขึ้นไป ในหมวด 6 และผลลัพธ์ 7.1
TQC+: Innovation มีช่วงคะแนน 50-65% ขึ้นไป ในหัวข้อ 6.1, หมวด 2 และผลลัพธ์ 7.1
2. TQC: มีระดับคะแนนที่สูงกว่า 350 คะแนน
กำหนดการ | การดำเนินงาน |
4 มกราคม–1 มีนาคม 2565 | ส่งใบสมัครขอรับรองคุณสมบัติองค์กร เพื่อขอรับรางวัลประจำปี 2565 |
11 มีนาคม 2565 | สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ แจ้งผลการรับรองคุณสมบัติองค์กรเพื่อขอรับรางวัล ประจำปี 2565 |
11–31 มีนาคม 2565 | ส่งใบสมัครขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564 และชำระค่าธรรมเนียม |
1 เมษายน–5 กรกฎาคม 2565 | ส่งรายงานการดำเนินการขององค์กรที่สมัครขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติประจำปี 2564 |
กันยายน – พฤศจิกายน 2565 | กระบวนการตรวจประเมิน ประจำปี 2565 ข• ขั้นที่ 1 Independent Review• ขั้นที่ 2 Consensus Review• ขั้นที่ 3 Site Visit Review |
ธันวาคม 2565 | คณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติพิจารณา และอนุมัติรางวัล ประจำปี 2565 |
ธันวาคม 2565 – มกราคม 2566 | แจ้งผลการพิจารณารางวัล ประจำปี 2565 และจัดส่ง Feedback Report |
มกราคม 2566 | ประกาศรายชื่อองค์กรที่ได้รับรางวัล ประจำปี 2565 |
คะแนน | กระบวนการ (หมวด 1-6) |
0% หรือ 5% | – ไม่มีแนวทางอย่างเป็นระบบที่ตอบคำถามของหัวข้ออย่างชัดเจน. มีสารสนเทศน้อย /ไม่ชัดเจน /ไม่ตรงประเด็น. (A)– แทบไม่ปรากฏหลักฐานการนำแนวทางที่เป็นระบบไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ. (D)– ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง (Improvement Orientation). มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา. (L)– ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับองค์กร. แต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานดำเนินการอย่างเอกเทศ. (I) |
10%, 15%, 20% หรือ 25% | – ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบที่ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (A)– การนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกพื้นที่หรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (D)– ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหามาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงทั่ว ไป. (L)– มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับพื้นที่หรือหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา. (I) |
30%, 35%, 40% หรือ 45% | – ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (A)– มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางพื้นที่หรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการถ่ายทอด |
50%, 55%, 60% หรือ 65% | – ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคำถามโดยรวมของหัวข้อ. (A)– มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน. (D)– มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรรวมถึงการสร้างนวัตกรรมในบางเรื่องเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ. (L)– มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการโดยรวมขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและ |
70%, 75%, 80% หรือ 85% | – ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคำถามย่อยของหัวข้อ. (A)– มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ. (D)– มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการ. ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร. (L)– มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กรในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ. (I) |
90%, 95% หรือ 100% | – ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคำถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน. (A)– มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยไม่มีจุดอ่อนหรือความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใด ๆ. (D)– มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และการเรียนรู้ในระดับองค์กรผ่านการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร. ปรากฏหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและนวัตกรรม |
คะแนน | ผลลัพธ์ (หมวด 7) |
0% หรือ 5% | – ไม่มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กร หรือมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีในหัวข้อที่รายงาน. (Le)– ไม่แสดงแนวโน้มของข้อมูล หรือแสดงแนวโน้มเชิงลบเป็นส่วนใหญ่. (T)– ไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ. (C)– ไม่มีการรายงานผลลัพธ์ในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (I) |
10%, 15%, 20% หรือ 25% | – มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรเพียงบางเรื่องที่ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ และมีระดับผลการดำเนินการที่เริ่มดี. (Le)– มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลในบางเรื่อง โดยบางเรื่องแสดงแนวโน้มเชิงลบ. (T)– แทบไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ. (C)– มีการรายงานผลลัพธ์เพียงบางเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (I) |
30%, 35%, 40% หรือ 45% | – มีการรายงานระดับผลการดำเนินการที่ดี ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (Le)– มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลบางเรื่อง และข้อมูลส่วนใหญ่ที่แสดงนั้นมีแนวโน้มที่ดี. (T)– เริ่มมีการแสดงสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ. (C)– มีการรายงานผลลัพธ์หลายเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (I) |
50%, 55%, 60% หรือ 65% | – มีการรายงานระดับผลการดำเนินการที่ดี ตอบคำถามโดยรวมของหัวข้อ. (Le)– แสดงถึงแนวโน้มที่ดีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (T)– ผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องดีกว่าคู่เทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม. (C)– มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าที่สำคัญส่วนใหญ่ ความต้องการของตลาด ที่สำคัญส่วนใหญ่ และคำถามของกระบวนการที่สำคัญส่วนใหญ่. (I) |
70%, 75%, 80% หรือ 85% | – มีการรายงานระดับผลการดำเนินการที่ดีถึงดีเลิศ ตอบคำถามย่อยของหัวข้อ. (Le)– มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่สำคัญส่วนใหญ่ซึ่งจะทำให้บรรลุพันธกิจขององค์กร. (T)– มีแนวโน้มและระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันหลายเรื่องถึงส่วนใหญ่ ดีกว่าคู่เทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียง และ |
90%, 95% หรือ 100% | – มีการรายงานระดับผลการดำเนินการที่ดีเลิศ ตอบคำถามของหัวข้ออย่างครบถ้วน. (Le)– มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่สำคัญทุกเรื่องซึ่งจะทำให้บรรลุพันธกิจขององค์กร. (T)– แสดงถึงความเป็นผู้นำทั้งในธุรกิจและเป็นผู้นำสำหรับการเทียบเคียงในหลายด้าน. (C)– มีการรายงานผลการดำเนินการและการคาดการณ์ผลการดำเนินการขององค์กรที่ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าที่สำคัญส่วนใหญ่ ความต้องการของตลาดที่สำคัญส่วนใหญ่ และคำถามของกระบวนการและแผนปฏิบัติการส่วนใหญ่. (I) |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
วันวิสา เจริญยศ โทร .0-2201-5035