มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งมั่นขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (Mahidol Engagement) เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริงของชุมชนหรือสังคมในพื้นที่โดยรอบ ด้วยการการทำงานร่วมกับภาคีในพื้นที่ในลักษณะเชิงสถาบัน ที่เป็นหุ้นส่วนระยะยาว (long-term partnership) มีการพัฒนากำลังคนในมหาวิทยาลัยที่มีอุดมการณ์ ความรู้ และทักษะในการทำงานวิชาการเพื่อสังคม อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566 กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่ 4.18 จํานวนโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม ที่ดำเนินการครบตามเกณฑ์ 4 ด้าน คือ
1) ร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership)
2) เกิดประโยชน์ร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual Benefit)
3) มีการสร้างความรู้ทางวิชาการ (Scholarship)
4) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social Impact)
ทั้งนี้ สังคม หมายรวมถึง กลุ่มบุคคลที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนทั้งในมิติของพื้นที่ ความสนใจร่วมกัน อัตลักษณ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดทางพื้นที่ ภูมิภาคและประเทศ รวมถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า และชุมชนพื้นเมือง เป็นต้น
โดยให้ส่วนงานบันทึกข้อมูลโครงการในระบบฐานข้อมูลงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (MU Engagement)
ได้ที่ https://social-engagement.mahidol.ac.th/ เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคมพิจารณารับรองโครงการต่อไป
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้สมรรถนะหลักขององค์กร คือความเป็นเลิศด้านการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ และความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์จากการที่บุคลากรสายวิชาการมีศักยภาพ ความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ต่อยอดพันธกิจหลักด้านการวิจัยไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมไทยด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ 3 “ความรู้เพื่อมนุษยชาติ” และสอดคล้องกับค่านิยมหลัก “S-Society ใส่ใจสังคม” โดยดำเนินโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม (University Social Engagement) ตามเกณฑ์ 4 ด้าน เพื่อสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมชุมชน รายละเอียด ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 7 โครงการ
ลำดับ | โครงการ University Social Engagement | หน่วยงาน |
1 | โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ | งานการศึกษา |
2 | โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายด้านการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (School Network) | งานศาลายา |
3 | โครงการเสวนาสาธารณะ Science Café วิทยาศาสตร์ มีคำตอบ | งานสื่อสารองค์กร |
4 | โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสู่สังคมกิจกรรม งานวันรักนกเงือก | งานสื่อสารองค์กร |
5 | โครงการเสริมสร้างความรักความผูกพันองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน | งานบริหารและธุรการ |
6 | โครงการศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสารห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข | งานสารสนเทศฯ |
7 | โครงการฟิสิกส์เพื่อชุมชน | ภาควิชาฟิสิกส์ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 5 โครงการ
ลำดับ | โครงการ University Social Engagement | หน่วยงาน |
1
| โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ (TCUMU) (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานการศึกษา |
2 | โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) กับสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานการศึกษา |
3 | โครงการเสวนาสาธารณะ Science Café วิทยาศาสตร์ มีคำตอบ | งานสื่อสารองค์กร |
4 | โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสู่สังคมกิจกรรม งานวันรักนกเงือก | งานสื่อสารองค์กร |
5 | ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข | งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 4 โครงการ
ลำดับ | โครงการ University Social Engagement | หน่วยงาน |
1 | โครงการมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทยณ คณะวิทยาศาสตร์ (TCUMU) | งานการศึกษา |
2 | โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายด้านการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) กับสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (School Network) (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานการศึกษา |
3 | โครงการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Simple Science) | งานสื่อสารองค์กร |
4 | โครงการเครือข่าย EASTEM เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้าน STEM Education ในระดับภูมิภาค (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3 โครงการ
ลำดับ | โครงการ University Social Engagement | หน่วยงาน |
1 | การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรรุกขกรระดับปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานบริหาร |
2 | จากองค์ความรู้สู่การพัฒนากลยุทธ์ต้านโรคกุ้งตายด่วน (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ |
3 | ภาวะเครียดที่ก่อให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกและการบริโภคแคลเซียมเสริมอย่างเพียงพอ | หน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 6 โครงการ
ลำดับ | โครงการ University Social Engagement | หน่วยงาน |
1 | โครงการ “จิตอาสาส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียน” (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | ภาควิชาคณิตศาสตร์ |
2 | การสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ |
3 | มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานการศึกษา |
4 | โครงการฝึกอบรมหลักสูตร รุกขกรระดับปฏิบัติการ รุ่นที่ 3 (ผ่านการพิจาณาจากโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม) | งานบริหาร |
5 | นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 | ภาควิชาพฤกษศาสตร์ |
6 | ค่ายนักนวัตกรรมวัสดุรุ่นเยาว์ | กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
วันวิสา เจริญยศ โทร .0-2201-5035