อัตราส่วนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

อย่างง่าย

แบบ TCH

แบบ SCQD

จำนวนอาจารย์หารด้วยจำนวนนักศึกษา

TBA

FTES อาจารย์ หารด้วย FTES นักศึกษา รายละเอียดด้านล่าง

สำหรับการเยี่ยมภาควิชาและหลักสูตร 2560

วิธีการคำนวณค่า FTES คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้ในงานพัฒนาคุณภาพหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA โดยกำหนดให้ใช้หน่วยในการคำนวณเป็น “ชั่วโมงต่อปี”

  • FTES ของอาจารย์

    • การคำนวณค่า FTES ของอาจารย์ในการปฏิบัติงานทั้งหมดในภาพรวม

      • กำหนดให้ 1 FTE มีค่าเท่ากับ 1,380 ชั่วโมงการทำงานต่อปี

      • FTES = ผลรวมของ FTE ของอาจารย์ทั้งหมด

    • การคำนวณค่า FTES ของอาจารย์ในหลักสูตร

      • FTES = ผลรวมของ FTE ของอาจารย์ในหลักสูตร

        • อาจารย์บางท่านอาจไม่มีส่วนในหลักสูตร

        • คิดเฉพาะ workload ที่เกี่ยวกับหลักสูตร

          • การปฏิบัติงาน เช่นบริการวิชาการ หรือการสอนให้กับหลักสูตรอื่น แม้จะเป็นภาระงานของอาจารย์ท่านนั้น แต่ไม่ควรนำมารวมคิดเปรียบเทียบกับนักศึกษาในหลักสูตร

          • ชั่วโมงภาระงานจากการทำงานวิจัยที่มีนักศึกษาในหลักสูตรร่วมด้วย ใช้แนวทางจำนวนชั่วโมงที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด เช่น 1 paper ที่ตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ได้ชั่วโมงภาระงาน 500 ชั่วโมง (ถ้าตีพิมพ์ร่วมกันหลายคน ให้หารสัดส่วนหรือตามที่ตกลงกันไว้ เช่น แต่ละคนได้ 125 ชั่วโมงภาระงานจากเปเปอร์เดียวกันนี้)

        • เปรียบเทียบ FTE อาจารย์ประจำ กับ FTE อาจารย์พิเศษ นอกจากจะทำให้ทราบบริบทเกี่ยวกับปริมาณงานแล้ว สามารถใช้ประกอบการคำนวณต้นทุนของหลักสูตรเปรียบเทียบระหว่างการจ้างอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษได้อีกด้วย

  • FTES ของนักศึกษา

    • กำหนดให้ 1 FTE มีค่าเท่ากับผลรวมชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรของนักศึกษา

      • ผลรวมของชั่วโมงเรียนบรรยาย ปฏิบัติการ และศึกษาด้วยตัวเอง ของทุกวิชาในหลักสูตร

      • ในกรณีที่หลักสูตรเรียนมากกว่า 1 ปี ให้ใช้ค่าเฉลี่ยต่อปี (เพื่อให้เปรียบเทียบได้กับ FTES อาจารย์)

      • ในกรณีที่นักศึกษามีผลงานวิจัย ใช้แนวทางที่ระบุในการคิดภาระงานของอาจารย์

        • ยกเว้นจะกำหนดว่าเป็นภาระงานในรายวิชา เช่นการทำวิทยานิพนธ์ แล้วหลักสูตรกำหนดผลงานเป็นเปเปอร์อยู่ในข้อกำหนดของหลักสูตร

      • FTES เท่ากับ ผลรวม FTE ของนักศึกษาแต่ละคน

      • ในการเยี่ยมภาควิชาและหลักสูตร ปีการศึกษา 2559 ใช้หน่วยคำนวณ FTE อาจารย์และนักศึกษาเป็นชั่วโมง เพื่อให้เปรียบเทียบได้ตรงกัน

  • สัดส่วน FTES อาจารย์ ต่อ FTES นักศึกษา

    • แสดงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา (หากตัวเลขสัดส่วนมีค่ามากแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ที่อาจารย์จะมีต่อนักศึกษาได้ไม่ทั่วถึง) สำหรับการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ สัดส่วนระหว่างอาจารย์ต่อนักศึกษา ควรมีค่าเท่ากับ 1:20

 

การคำนวณอย่างง่าย

สำหรับบุคลากรสายวิชาการ/อาจารย์

  • กำหนดให้ 1 FTE = 40 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์

สำหรับนักศึกษา

  • กำหนดให้ 1 FTE =  จำนวนหน่วยกิตต่อภาคการศึกษา

    • ตัวอย่าง หลักสูตรหนึ่ง นักศึกษาลงทะเบียน 12 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา แล้ว 1 FTE มีค่าเท่ากับ 12 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หากนักศึกษาลงทะเบียน 12 หน่วยกิตพอดี ก็นับเป็น 1 FTE หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนน้อยกว่า 12 หน่วยกิต ก็จะมีค่าไม่ถึง 1 FTE หรือหากลงทะเบียนมากกว่า 12 หน่วยกิต จะมีค่าเกินกว่า 1 FTE เป็นต้น

สัดส่วนระหว่างอาจารย์ต่อนักศึกษา

  • Staff-to-student ration มีค่าเท่ากับ ผลรวม FTEs ของอาจารย์ที่สอนในหลักสูตร หารด้วย ผลรวม FTEs ของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร

    • หน่วยของ FTE ควรเป็นหน่วยเดียวกันก่อนนำมาเปรียบเทียบ เช่น คิดเป็นชัวโมงต่อสัปดาห์เหมือนกัน หรือคิดเป็นชั่วโมงต่อภาคการศึกษาเหมือนกัน หรือคิดเป็นชั่วโมงต่อปีการศึกษาเหมือนกัน

หมายเหตุ

  • ลองค้นอินเตอร์เน็ต เพื่อดูวิธีคำนวณ FTE แบบต่าง ๆ ประกอบเพื่อเปรียบเทียบ และเลือกมาใช้ตามความเหมาะสม

  • FTE ย่อมาจาก Full-Time Equivalent

  • FTE อาจารย์ กำหนดจากจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานขั้นต่ำ

  • FTE นักศึกษา

    • ตัวอย่าง 1 ปีการศึกษา มี 2 ภาคการศึกษา แต่ละภาคการศึกษามีเวลาเรียน 16 สัปดาห์ แต่ละสัปดาห์มีเวลาเรียน 5 วัน เรียนวันละ 8 ชั่วโมง = 1x2x16x5x8 = 1280 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา = 1 FTE ของนักศึกษา

Solverwp- WordPress Theme and Plugin