มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง ตามกรอบแนวคิด COSO-Enterprise Risk Management 2014 และ 2017 โดยกำหนดให้ส่วนงาน/หน่วยงาน วิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงเหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการทุจริต (Fraud) หรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest) ตามแนวทางของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ             พ.ศ. 2562 หรือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี และติดตามผลการบริหารจัดการความเสี่ยง ปีละ 2 ครั้ง คือ รอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงตามแนวทางของมหาวิทยาลัย ดังนี้

1.    วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง จากพันธกิจหลัก และพันธกิจสนับสนุน
2.    นำเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
3.    วิเคราะห์ความเสี่ยงโดยคำนึงถึงประเด็นจากเหตุการณ์ความเสี่ยงมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2564
4.    วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงครบ ทั้ง 4 ประเภทความเสี่ยง ประกอบด้วย ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)ด้านการดำเนินงาน (Operational Risk)ด้านการเงิน              (Financial Risk)และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Financial Risk)
5.    วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต (Fraud) หรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest) ตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
6.    การประเมินระดับความเสี่ยง โดยใช้เกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

แผนการบริหารจัดการความเสี่ยง 

ดำเนินการโดยจัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี และติดตามผลการบริหารจัดการความเสี่ยง เป็นประจำทุก 6 เดือน คือ รายงานผลรอบ 6 เดือน และรายงานผลรอบ 12 เดือน โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้


             1.การจัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง

กำหนดการ
การดำเนินการ

มิถุนายนของทุกปี

ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา/งานจัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ดังนี้ 1. รายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง (เอกสารหมายเลข 3) 2. แผนปฏิบัติการและรายงานผลการบริหารความเสี่ยง (เอกสารหมายเลข 4)
กรกฎาคมของทุกปี
นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง
สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม
นำเข้าที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ ก่อนส่งมหาวิทยาลัย
30 กรกฎาคมของทุกปี
ส่งรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ไปยังศูนย์บริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล

               2.การรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 6 เดือน

กำหนดการ
การดำเนินการ
มีนาคมของทุกปี
ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา/งาน จัดทำรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 6 เดือน (1 ต.ค. 25xx -31 มี.ค. 25xx)
เมษายนของทุกปี
ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา/งาน ส่งรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 6 เดือน   (1 ต.ค. 25xx -31 มี.ค. 25xx)
เมษายนของทุกปี
นำเข้าที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ ก่อนส่งมหาวิทยาลัย
30 เมษายนของทุกปี
ส่งรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง ไปยังศูนย์บริหารความเสี่ยง หาวิทยาลัยมหิดล

              3.การรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 12 เดือน   

กำหนดการ
การดำเนินการ
กันยายน – ตุลาคมของทุกปี
ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา/งาน จัดทำรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 12 เดือน (1 ต.ค. 25xx -30 ก.ย. 25xx)
ตุลาคมของทุกปี
ภาควิชา/ศูนย์/กลุ่มสาขาวิชา/งาน ส่งรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 12 เดือน  (1 ต.ค. 25xx -30 ก.ย. 25xx)
ตุลาคมของทุกปี
นำเข้าที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ ก่อนส่งมหาวิทยาลัย
ตุลาคมของทุกปี
ส่งรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง ไปยังศูนย์บริหารความเสี่ยง หาวิทยาลัยมหิดล

   เพื่อให้การดำเนินการด้านบริหารจัดการความเสี่ยงในคณะวิทยาศาสตร์ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยมหิดล จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้

ลำดับ
รายชื่อกรรมการ
ตำแหน่ง
1
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
ประธาน
2
รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์
รองประธาน
3
รองคณบดี
กรรมการ
4
รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา
กรรมการ
5
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์
กรรมการ
6
รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม
กรรมการ
7
รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ
กรรมการ
8
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา
กรรมการ
9
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์
กรรมการ
10
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล
กรรมการ
11
ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางเคมีและจัดการขยะอันตราย
กรรมการ
12
ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ
กรรมการ
13
ประธานคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
กรรมการ
14
หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์
กรรมการ
15
หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์
กรรมการ
16
หัวหน้าภาควิชาเคมี
กรรมการ
17
หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา
กรรมการ
18
หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี
กรรมการ
19
หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา
กรรมการ
20
หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
กรรมการ
21
หัวหน้าภาควิชาพยาธิชีววิทยา
กรรมการ
22
หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์
กรรมการ
23
หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์
กรรมการ
24
หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา
กรรมการ
25
หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา
กรรมการ
26
หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง
กรรมการ
27
หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ
กรรมการ
28
หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ
กรรมการ
29
หัวหน้างานการศึกษา
กรรมการ
30
หัวหน้างานตรวจสอบภายใน
กรรมการ
31
หัวหน้างานคลังและพัสดุ
กรรมการ
32
หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ
กรรมการ
33
หัวหน้างานบริหารและธุรการ
กรรมการ
34
หัวหน้างานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี
กรรมการ
35
หัวหน้างานพันธกิจพิเศษ
กรรมการ
36
หัวหน้างานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา
กรรมการ
37
หัวหน้างานศาลายา
กรรมการ
38
หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
กรรมการ
39
หัวหน้างานสื่อสารองค์กร
กรรมการ
40
หัวหน้างานวิจัย
กรรมการ
41
นายสุเมธ  กิตติภูมิ
กรรมการ
42
หัวหน้างานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ
กรรมการและเลขานุการ
43
นางวัชรี  ใจซื่อกุล
ผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. กำหนดนโยบาย กรอบและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของคณะวิทยาศาสตร์ และทบทวนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
2. จัดให้มีการวางแผนการบริหารจัดการเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ รวมทั้ง กำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
3. ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะวิทยาศาสตร์ ต่อคณะกรรมการประจำคณะ
4. กำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ
5. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประจำทุกปี
 
ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2565
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัชรี ใจซื่อกุล โทร.0-2201-503

Solverwp- WordPress Theme and Plugin