ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดจ้างบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามข้อกำหนดมาตรา 44 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 โดยมหาวิทยาลัยมหิดลจะต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมิน ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย และทุกส่วนงานต้องได้รับการประเมิน ทั้งส่วนงานที่จัดตั้งตามมาตรา 10 และส่วนงานที่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีที่มีลักษณะการบริหารงานคล้ายส่วนงาน รวมทั้งสิ้น 42 หน่วยงาน 

 บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบริการให้คำปรึกษาแนะนำในการออกแบบระบบการประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร มีประสบการณ์และชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านการประเมินผลการดำเนินงานให้แก่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) และภาคเอกชน โดยผลการประเมิน ข้อมูลและเอกสารประกอบต่างๆ จะส่งมอบต่อผู้ว่าจ้างเท่านั้น และทริสได้ลงนามในสัญญาจ้างในโครงการ ซึ่งระบุเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของที่ปรึกษาไว้ชัดเจนในข้อ 3.4 ว่าบรรดาเอกสารที่ที่ปรึกษาได้จัดทำขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ให้ถือเป็นความลับ และให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างคือมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาจะต้องส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นสุดสัญญา ที่ปรึกษาจะเก็บสำเนาเอกสารไว้กับตนได้ แต่ต้องไม่นำข้อความในเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากมหาวิทยาลัยก่อน

วัตถุประสงค์

กำหนดการประเมินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

กำหนดการ
กิจกรรม

2 เมษายน 2564

รับฟังคำชี้แจงกรอบการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560 – 2563 จากทางมหาวิทยาลัย และ TRIS

19 เมษายน 2564 

เปิดระบบ Mahidol x Tris Survey ให้กรอกข้อมูลตัวชี้วัดและแนบไฟล์หลักฐาน

21 เมษายน 2564 

งานนโยบายฯ ชี้แจงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานกรอกข้อมูลตัวชี้วัด ให้แก่ผู้บริหารและหัวหน้างานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ 1/2564

 5 พฤษภาคม 2564

ปิดระบบ Mahidol x Tris Survey

19 พฤษภาคม 2564

TRIS ตรวจเยี่ยม (Site Visit) คณะวิทยาศาสตร์ และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง

 ภาพกิจกรรม

กรอบการประเมินผล

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. การประเมินโดยตัวชี้วัด 5 มิติ

กรอบการประเมินผลจำนวน (ตัวชี้วัด)
มิติที่ 1 ประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน
21
มิติที่ 2 คุณภาพการให้บริการ
5
มิติที่ 3 ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
2
มิติที่ 4 การบริหารจัดการและการกำกับดูแลที่ดี
9
มิติที่ 5 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
2
 
39

เกณฑ์การถ่วงน้ำหนักจำแนกตามกลุ่มส่วนงาน

2. การประเมินผลโดยใช้การสำรวจ

3. การวิเคราะห์ส่วนงานโดยการทดสอบภาวะวิกฤติ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับข้อมูลสารสนเทศสำหรับนำไปปรับปรุงหรือยกระดับผลการดำเนินงานและการบริหารจัดการส่วนงาน โดยมุ่งเน้นกำกับดูแลองค์กร (ส่วนงาน) ในลักษณะมองไปข้างหน้า และเชิงป้องกัน (Forward-looking and preventive supervision)

ข้อมูลประกอบ

1) ข้อมูลสถิติผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน และกำหนดสถานการณ์จำลองจากสภพปัญหา หรือสถานการณ์วิกฤติที่ส่วนงานต่องเผชิญ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตี่สะท้อนความยั่งยืนของส่วนงานด้านความอยู่รอดด้านการเงินในระยะสั้น/ปานกลาง ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร

2) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของส่วนงาน ในด้านความจำเป็นของการคงอยู่/ความสามารถในการตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

สรุปผล และระบุแนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตของส่วนงาน

ประมวลผลข้อมูลจากข้อมูลทางสถิติ แลผลการดำเนินงานตามสถานการณ์จำลอง (Scenario) ที่กำหนด     

    สีเขียว หมายถึง ปลอดภัย

    สีเหลือง หมายถึง เตือนภัย

    สีแดง หมายถึง วิกฤติ

การติดตามและประเมินผลยังที่ตั้งของส่วนงาน (Site Visit)

ข้อมูล ณ วันที่ 7 กรกฏาคม 2564

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 
วันวิสา เจริญยศ  โทร .0-2201-5035

Solverwp- WordPress Theme and Plugin