วิสัยทัศน์

To be a World Class Faculty of Science with Social Impact

 

พันธกิจ

เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรมคุณภาพสากล เพื่อสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

 

วัฒนธรรมองค์กร

Synergy for Success and Sustainability

 

สมรรถนะหลัก

ศักยภาพในการสอนและการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ พื้นฐาน และประยุกต์

 

ค่านิยม

M – Mastery U – Unity S – Society C – Creativity

 

 

ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน

 

S1 : วิจัย และนวัตกรรม คุณภาพสากล (World Class Research and Innovation)

 

S2 : นวัตกรรมการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ที่แท้จริง (Innovative Education and Authentic Learning)

 

S3 : บริการวิชาการเข้มแข็ง และผลักดันงานวิชาการสู่ระดับนโยบาย (Excellence in Academic Service, Policy Advocacy)

 

S4 : องค์กรยั่งยืน และพึ่งตนเองได้ (Sustainable Organization and Self-Sufficiency)

>> ใช้เกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบและผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ในระดับคณะ ใช้เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx)/เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เป็นแนวทางในการดำเนินการและพัฒนาคุณภาพ ในระดับหลักสูตรสนับสนุนและประสานการใช้และตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) เป็นแนวทางในการดำเนินการและพัฒนาคุณภาพระดับหลักสูตร

>> ติดตาม ทบทวน และหาแนวทางปรับปรุงผลการดำเนินงาน จากการติดตามผลการดำเนินงานผ่านตัววัด MU-KPI ทุก ๆ 3 เดือน ตัววัด cKPI ของคณะ ๆ ทุก ๆ ปีงบประมาณ

>> ติดตาม ทบทวน และรวบรวม ผลการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ใช้แนวทางการออกแบบตาม SIPOC โมเดล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CQI) ด้วยวงจรคุณภาพแบบ PDCA

>> ผู้บริหาร (คณบดี รองคณบดี และผู้ช่วยคณบดี หัวหน้างาน) ผ่านการอบรมด้านเกณฑ์คุณภาพ TQA/EdPEx จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

>> ประธานหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร เจ้าหน้าที่หลักสูตร ผ่านการอบรมเกณฑ์คุณภาพหลักสูตร AUN-QA หรือแนวทางแบบ Outcome-Based Education (OBE)

>> ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผู้ตรวจประเมินตามเกณฑ์ EdPEx และ AUN-QA ระดับมหาวิทยาลัย (MU Assessor) และส่งเสริมให้เกิดผู้ประเมินที่ประเมินได้ทั้งสองเกณฑ์ในท่านเดียวกัน (Dual Assessor) ส่งเสริมให้ผู้ประเมินมาร่วมพัฒนาคณะและหลักสูตรผ่านกระบวนการเยี่ยมสำรวจภาควิชาด้วยเกณฑ์คุณภาพ EdPEx และ TQA ในทุกปีงบประมาณ

>> กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นพันธกิจของทุกงานและภาควิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะฯ

>> ใช้หลักการ COSO ERM ในการจัดการบริหารความเสี่ยงของคณะวิทยาศาสตร์ และกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงในทุกด้าน (SOFC) ในแต่ละครั้งของการประเมินและวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยง

>> กำหนดประเด็นความเสี่ยงที่มีร่วมกันในระดับคณะ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการความเสี่ยง

>> กำหนดประเด็นบริหารจัดการความต่อเนื่องในระดับเบื้องต้นควบคู่ไปกับการบริหารจัดการบริหารจัดการความเสี่ยง

>> ติดตามและรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยงของคณะทุก 6 เดือน

แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 
วันวิสา โทร .0-2201-5035

Solverwp- WordPress Theme and Plugin