ประชุมและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2561

ที่ ศธ 0517.091/ นย 261   วันที่  27  มิถุนายน 2560 เรื่อง ขอเชิญประชุม และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2561 ตามที่มหาวิทยาลัย ขอให้ส่วนงานดำเนินการวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ตามความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องบประมาณ 2561 เพื่อวางแผนบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตามแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงปีงบประมาณ 2561 ของศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น ในการนี้ งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยงในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และขอความร่วมมือจัดทำเอกสารล่วงหน้า เพื่อนำเสนอที่ประชุม ดังนี้ เอกสารประกอบ 2  แบบสำรวจประเด็นความเสี่ยง 2561 หมายเหตุ : หากระดับความเสี่ยงเป็น “สูง” หรือ “สูงมาก” ให้ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในแบบฟอร์มรายงานการวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยง (เอกสารประกอบ 4) และแบบฟอร์มแผนปฏิบัติการและรายงานผลการบริหารความเสี่ยง (เอกสารประกอบ 5) เอกสารประกอบ 3  แบบสำรวจการดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน 2561 เอกสารประกอบ 4 แบบฟอร์มรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง […]

การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 2561

เอกสารประกอบ 1 (ใหม่) คู่มือการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 2 (ใหม่) แบบสำรวจประเด็นความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 3 (ใหม่) แบบสำรวจการดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน 2561 เอกสารประกอบ 4 แบบฟอร์มรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง 2561 เอกสารประกอบ 5 แบบฟอร์มรายงานแผนปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยง 2561 ฐานข้อมูลความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงระดับสถาบัน 2559 ความเสี่ยง 2559 ความเสี่ยง 2558 เอกสารประกอบการชี้แจงการทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2561 (ศูนย์ความเสี่ยง วันที่ 16 มิ.ย. 2560) ให้ข้อเสนอแนะแก่งานนโยบายฯ เรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง (Google Form) ลิงก์: ดาวน์โหลดเอกสาร (บน) ภาพการชี้แจงการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปผลการจัดการความเสี่ยง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2560

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพจัดการประชุมรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยง รอบ 6 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2560 ณ ห้อง K101 วันพุธที่ 5 เมษายน 2559 เวลา 0900-1200

ความเสี่ยงระดับสถาบัน

ประเด็นหรือเหตุการณ์ความเสี่ยง (อัพเดท 2559) ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (เป้า = จำนวนอาจารย์x1 + จำนวนผศ.x2 + จำนวนรศ.x3 จำนวนศ. x4 เปเปอร์ต่อปี) ความเสี่ยงที่การเผยแพร่ อ้างอิง ผลงานวิจัยในระดับชาติและระดับนานาชาติน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (ตัววัด citation, h-index) ความเสี่ยงที่จำนวนทุน/เงินทุนวิจัยลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ความเสี่ยงที่คณะฯ ไม่สามารถนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ความเสี่ยงที่นักวิจัยจะมีการทำผิดจริยธรรมการนำเสนอผลงานวิจัย เช่น plagiarism ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อลดลง ความเสี่ยงที่หลักสูตรจะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ความเสี่ยงที่หน่วยงานที่จำเป็นต้องมีการรับรองมาตรฐาน ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือไม่ได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน ความเสี่ยงที่คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และส่งผลต่อการจบการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการดำเนินการฟ้องร้อง ร้องเรียน จากการดำเนินการของคณะฯ ความเสี่ยงที่รายจ่ายจะสูงกว่ารายรับ ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะหยุดชะงักโดยไม่ได้มาจากการวางแผนล่วงหน้า (เช่นปิดซ่อมแซม) ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะโดนล่วงล้ำจากผู้ไม่ประสงค์ดี หรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพสูงหรือมีศักยภาพมาปฏิบัติงานได้ ความเสี่ยงที่ระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ EdPEx ไม่เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยต่อจำนวนนักวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่จำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่นักวิจัยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่ผลงานวิจัยของส่วนงานมีแนวโน้มลดลง ความเสี่ยงที่ทุนวิจัยจากภาครัฐ เอกชนในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ความเสี่ยงที่โครงการวิจัยที่เสนอขอทุนต่อภาครัฐและเอกชน ในประเทศและต่างประเทศ […]

ประเด็นความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2559

ความเสี่ยงที่ผลงานงานวิจัยไม่ได้รับการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาลดลง ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่พ้นสภาพจะมากขึ้น ความเสี่ยงที่มีจำนวนรายวิชาขอแก้ไขผลการศึกษามากขึ้น ความเสี่ยงที่ไม่สามารถดูแลความเจ็บป่วยของนักศึกษาได้ทันท่วงที ความเสี่ยงที่มีการส่ง มคอ. 5 และ มคอ. 7 ล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำหนด ความเสี่ยงที่การนำ AUN-QA ไปใช้ในระดับหลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่มีการถูกปรับเนื่องจากไม่สามารถให้บริการวิชาการได้ตามสัญญา ความเสี่ยงที่บริหารเงินเดือนและค่าตอบแทนจากเงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ความเสี่ยงที่จะมีชาวต่างชาติเป็นโรคติดต่อร้ายแรงเข้ามาในคณะวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (action plan) ไม่เป็นไปตามแผน ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในคณะฯ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจรกรรมในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของสารเคมี ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เนื่องจากไฟฟ้าดับ ความเสี่ยงที่จะประชาสัมพันธ์ด้วยเนื้อหาที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ความเสี่ยงที่มีการพบว่าประเด็นเสี่ยงต่อการทุจริตหรือทำผิดจากศูนย์ตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ความเสี่ยงที่จะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ควาเสี่ยงที่จะมีสื่อเชิงลบกับคณะฯ ปรากฎบนสื่อออนไลน์ และสื่อแบบเดิม ความเสี่ยงที่จะมีผู้เข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่การสำรองข้อมูลสารสนเทศ ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ระบบคอมพิวเตอร์หยุดชะงักและกระทบต่อการให้บริการของคณะฯ ความเสี่ยงที่จะมีการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ความเสี่ยงที่คณะฯ จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบเชิงอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของคณะฯ

อบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารความเสี่ยง

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Workshop) สำหรับเครือข่ายการบริหารความเสี่ยง รุ่นที่ 1 วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559 ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา กำหนดการ วันที่ 3 พ.ค. 2559 พิธีเปิด บรรยายเรื่องการจัดการบริหารความเสี่ยง ปฏิบัติการที่ 1 การระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง Risk Identification วันที่ 4 พ.ค. 2559 ปฏิบัติการที่ 2 การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment ปฏิบัติการที่ 3 การจัดการความเสี่ยง Risk Response พิธีปิด วิทยากร: นายธรรญา สุขสมัย  ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง เอกสารประกอบการอบรม เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบริหารความเสี่ยง แบบฟอร์ม Workshop 1 Event Identification แบบฟอร์ม Workshop 2 Risk Assessment แบบฟอร์ม Workshop3 […]

ประชุมสรุปผลการบริหารความเสี่ยง MUSC รอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ 2559

การประชุมกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดส่งรายงานผลบริหารความเสี่ยง ครึ่งปีแรก ของปีงบประมาณ 2559 ตรงกับวันที่ 29 เมษายน 2559 ภาพโดย ลีลศร พ่วงศรี ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล การบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบริหารความเสี่ยง 2559

ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559 ณ ห้อง 401 ศูนย์การเรียนรู้ ม.มหิดล ศาลายา เวลา 1300-1600 ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง

ประเด็นความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2558

ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยงที่จะมีการแก้ไขผลการศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินของนักศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการยกเลิกสัญญาจ้างบริการวิชาการจนส่งผลเสียต่อคณะ ความเสี่ยงที่จะถูกปรับเงินเนื่องจากไม่สามารถทำตามสัญญาจ้างบริการวิชาการได้ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถบริหารและจัดสรรเงินเดือนและค่าตอบแทนฯได้ ความเสี่ยงที่จะไม่มีการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ความเสี่ยงที่มีชาวต่างชาติเป็นโรคติดต่อร้ายแรงเข้ามาในคณะฯ ความเสี่ยงที่การดำเนินตามแผนปฏิบัติการไม่เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัย ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุภายในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจรกรรมหรืออาชญากรรมภายในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดภายในคณะ ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบ (จราจล,ชุมนุมประท้วง) จนไม่สามารถมาทำงานที่คณะฯได้ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่ศาลายาได้เนื่องจากอุทกภัย/พายุ ความเสี่ยงที่คณะฯจะให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาสัมพันธ์ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ ความเสี่ยงที่จะพบประเด็นข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบของศูนย์ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยมหิดล ความเสี่ยงที่เงินนอกงบประมาณลดลง ความเสี่ยงที่รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย ความเสี่ยงที่เกิดการหยุดชะงักของระบบเครือข่ายโดยไม่ได้คาดหมาย ความเสี่ยงที่จะมีการเข้าถึงข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่ข้อมูลในระบบแม่ข่ายสูญหาย ความเสี่ยงที่จะขาดบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่อในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

Solverwp- WordPress Theme and Plugin