ประชุมจัดทำแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์ 2560-2564

การประชุมจัดทำแผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2560-2564 ณ โรงแรมอัมพวา น่านอน ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2559 ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ภาพกิจกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ 16-18 กันยายน 2559 อัลบั้มภาพการจัดทำแผนกลยุทธ์ 2560-2564 อัลบั้มภาพอาหารและของว่างระหว่างการประชุม อัลบั้มภาพกิจกรรมคาราโอเกะหลังอาหารเย็น

การทำข้อตกลงปฏิบัติงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ 2560

การจัดทำข้อตกลงปฏิบัติการ (Performance Agreement: PA) ภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2560 มีกำหนดการดังนี้ วันที่ เวลา ส่วนงาน วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 13:00-14:30 ภาควิชาสรีรวิทยา 14:30-16:00 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559 09:00-10:30 ภาควิชาพยาธิชีววิทยา 10:30-12:00 ภาควิชาคณิตศาสตร์ 13:00-14:30 ภาควิชาจุลชีววิทยา 14:30-16:00 ภาควิชาเคมี วันพุธที่ 7 กันยายน 2559 09:00-10:30 ภาควิชาฟิสิกส์ 10:30-12:00 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 13:00-14:30 ภาควิชาเภสัชวิทา 14:30-16:00 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2559 09:00-10:30 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง 10:30-12:00 ชีววิทยา 13:00-14:30 ชีวเคมี การดำเนินงาน วัน เดือน ปี ขั้นตอนการดำเนินงาน 29 […]

พัฒนาและประเมินหลักสูตรด้วย AUN-QA

MU AUN-QA Share & Learn ประสบการณ์การพัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 1300-1600 ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา กำหนดการ ลงทะเบียน ทิศาทางและบทบาทการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับหหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ด้านการศึกษา รศ.ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายเทคโนลยีสารสนเทศและพัฒนาคุณภาพ บัณฑิตวิทยาลัย แลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA รศ.พญ.ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รศ.ดร.นพ.ถาวรชัย ลิ้มจินดาพร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ เอกสารประกอบ กำหนดการ MU AUN-QA Policy 2016-2018 แลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA Internal Assessment for AUN-QA at Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol […]

การทบทวนหลังการเยี่ยมสำรวจหลักสูตรด้วยเกณฑ์ AUN-QA

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพจัดการประชุมทบทวนหลังการปฏิบัติการ (After Action Review) จากการที่หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาชีวเคมี ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์ AUN-QA โดยกรรมการจากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 9-11 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม K102 วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 โดย อ.ดร.ณัฐพล อ่อนปาน รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยงและ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ประธานหลักสูตรและรองหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล MUSC AUN-QA แบบบันทึกข้อเสนอแนะการประชุมทบทวนหลังปฏิบัติการ เอกสารประกอบการบรรยาย การประชุมทบทวนหลังปฏิบัติการ

ชี้แจงการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ CHE-QA ปีการศึกษา 2558

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ CHE-QA Online ประจำปีการศึกษา 2558 ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการ CHE-QA Online คณะวิทยาศาสตร์ เอกสารประกอบการนำเสนอการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ CHE-QA Online 2558 คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 กระบวนการดำเนินการ CHE-QA คณะวิทยาศาสตร์ แบบฟอร์มกรอกข้อเสนอแนะ เว็บไซต์ระบบ CHE-QA Online

การบันทึกข้อมูลเข้าระบบ CHE-QA Online ปีการศึกษา 2559

กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมชี้แจงการดำเนินการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ CHE-QA Online ประจำปีการศึกษา 2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี ศาลายา เวลา 1300-1600 ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล เอกสารประกอบการประชุม

ความเสี่ยงระดับสถาบัน

ประเด็นหรือเหตุการณ์ความเสี่ยง (อัพเดท 2559) ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (เป้า = จำนวนอาจารย์x1 + จำนวนผศ.x2 + จำนวนรศ.x3 จำนวนศ. x4 เปเปอร์ต่อปี) ความเสี่ยงที่การเผยแพร่ อ้างอิง ผลงานวิจัยในระดับชาติและระดับนานาชาติน้อยกว่าค่าเป้าหมาย (ตัววัด citation, h-index) ความเสี่ยงที่จำนวนทุน/เงินทุนวิจัยลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ความเสี่ยงที่คณะฯ ไม่สามารถนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ ความเสี่ยงที่นักวิจัยจะมีการทำผิดจริยธรรมการนำเสนอผลงานวิจัย เช่น plagiarism ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อลดลง ความเสี่ยงที่หลักสูตรจะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ ความเสี่ยงที่หน่วยงานที่จำเป็นต้องมีการรับรองมาตรฐาน ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือไม่ได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน ความเสี่ยงที่คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และส่งผลต่อการจบการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ความเสี่ยงที่จะมีการดำเนินการฟ้องร้อง ร้องเรียน จากการดำเนินการของคณะฯ ความเสี่ยงที่รายจ่ายจะสูงกว่ารายรับ ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะหยุดชะงักโดยไม่ได้มาจากการวางแผนล่วงหน้า (เช่นปิดซ่อมแซม) ความเสี่ยงที่ระบบสารสนเทศจะโดนล่วงล้ำจากผู้ไม่ประสงค์ดี หรือโดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพสูงหรือมีศักยภาพมาปฏิบัติงานได้ ความเสี่ยงที่ระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์ EdPEx ไม่เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่จำนวนผลงานวิจัยต่อจำนวนนักวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่จำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่นักวิจัยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย (4×4=สูงมาก) ความเสี่ยงที่ผลงานวิจัยของส่วนงานมีแนวโน้มลดลง ความเสี่ยงที่ทุนวิจัยจากภาครัฐ เอกชนในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ความเสี่ยงที่โครงการวิจัยที่เสนอขอทุนต่อภาครัฐและเอกชน ในประเทศและต่างประเทศ […]

ประเด็นความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2559

ความเสี่ยงที่ผลงานงานวิจัยไม่ได้รับการนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาลดลง ความเสี่ยงที่จำนวนนักศึกษาที่พ้นสภาพจะมากขึ้น ความเสี่ยงที่มีจำนวนรายวิชาขอแก้ไขผลการศึกษามากขึ้น ความเสี่ยงที่ไม่สามารถดูแลความเจ็บป่วยของนักศึกษาได้ทันท่วงที ความเสี่ยงที่มีการส่ง มคอ. 5 และ มคอ. 7 ล่าช้า ไม่เป็นไปตามกำหนด ความเสี่ยงที่การนำ AUN-QA ไปใช้ในระดับหลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่มีการถูกปรับเนื่องจากไม่สามารถให้บริการวิชาการได้ตามสัญญา ความเสี่ยงที่บริหารเงินเดือนและค่าตอบแทนจากเงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ความเสี่ยงที่จะมีชาวต่างชาติเป็นโรคติดต่อร้ายแรงเข้ามาในคณะวิทยาศาสตร์ ความเสี่ยงที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (action plan) ไม่เป็นไปตามแผน ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในคณะฯ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจรกรรมในคณะฯ ความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของสารเคมี ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เนื่องจากไฟฟ้าดับ ความเสี่ยงที่จะประชาสัมพันธ์ด้วยเนื้อหาที่ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ความเสี่ยงที่มีการพบว่าประเด็นเสี่ยงต่อการทุจริตหรือทำผิดจากศูนย์ตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ความเสี่ยงที่จะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ควาเสี่ยงที่จะมีสื่อเชิงลบกับคณะฯ ปรากฎบนสื่อออนไลน์ และสื่อแบบเดิม ความเสี่ยงที่จะมีผู้เข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต ความเสี่ยงที่การสำรองข้อมูลสารสนเทศ ไม่มีประสิทธิภาพ ความเสี่ยงที่ระบบคอมพิวเตอร์หยุดชะงักและกระทบต่อการให้บริการของคณะฯ ความเสี่ยงที่จะมีการละเมิดพรบ.คอมพิวเตอร์ พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ความเสี่ยงที่คณะฯ จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบเชิงอาชีวอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของคณะฯ

Solverwp- WordPress Theme and Plugin