งานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565

           วันที่ 29 สิงหาคม 2565 งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับ งานบริหารและธุรการ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพคนและพัฒนาคุณภาพงาน สู่การพัฒนาคุณภาพองค์กร  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการประเมินเพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ชำนาญงาน ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญฯ) ม. มหิดล ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ  “เคล็ดลับ การพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน”   โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น   86  ท่าน วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ 2. ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้ต่อไป  โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพ คณะวิทยาศาสร์ ทั้งหมดจำนวน

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565

🎞 ร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ “เคล็ดลับการพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ 🗓 วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น.    ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ     🟡 ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ที่ https://bit.ly/3CACsvo

คุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU EP.37 และ 38

ฟรี! สัมมนาออนไลน์ “คุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU” วันที่ 4 ก.ค. 65   EP.37 ตอน 5 เรื่องต้องทำ เพื่อพัฒนาสายงานนวัตกรรมในองค์กร  วันที่ 8 ก.ค. 65   EP.38 ตอน Let’s go…OKRs เครื่องมือบริหารผลงานในยุค New Normal (ภาค2)  EP.37  วันที่ 4  ก.ค. 65 สายงานนวัตกรรม ถือเป็นสายงานที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ในหลายองค์กร ด้วยความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ ทำให้เกิดเทรนด์ในการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ มีการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่นำมาซึ่งโอกาสและรายได้ขององค์กร   รายการคุยสบาย บ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU ในครั้งนี้ ขอเชิญทุกท่านมาเรียนรู้เคล็ดลับ การยกระดับบุคลากรในสายงานนวัตกรรม พัฒนาสู่การเป็นนวัตกร และเพิ่มความสามารถทางด้านการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร  พร้อมเจาะลึกถึงทักษะ ความคิด และทัศนคติ ที่จำเป็นในการปลูกฝังให้กับพนักงาน และกลไกของแผนแม่บทการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร  

MUSC QUALITY FAIR 2022

MUSC QUALITY FAIR 2022 (ขยายวันรับผลงาน) งานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ขอเชิญชวนอาจารย์ บุคลากร ร่วมส่งผลงานคุณภาพเข้าประกวดในงานมหกรรมคุณภาพ           คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ในหัวข้อ”Good Governance in Digital Era : ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล“ ประเภทผลงาน 1) ผลงานรับรางวัล Award(Team Good Practice Award, Innovative Teaching Award และ Public Policy Advocacy Award2) Oral Presentation3) Poster Presentation4) Storytelling   กลุ่มผลงาน กลุ่ม A : ผลงานประเภทพันธกิจ (งานทรัพยากรบุคคล, กระบวนการเรียนการสอน การบริหารการศึกษา, การพัฒนานักศึกษา,

ร่วมทำแบบสำรวจการรับรู้ของบุคลากรที่มีต่อการนำองค์กรของทีมบริหารคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2564-2565

🛎งานนโยบายฯ ขอความอนุเคราะห์ท่านในการจัดทำและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในภาควิชา / ศูนย์ / กลุ่มสาขาวิชา 💛เข้าร่วมทำแบบสำรวจการรับรู้ของบุคลากรที่มีต่อการนำองค์กรของทีมบริหารคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2564-2565 ‼️ 💛ที่ URL คือ https://dlink.me/252Y5 หรือ QR code 

Learn Do De-velopment : เรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนา ปี 3

มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมLearn Do De-velopment : เรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนา ปี 3   รอบที่ 1 วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-15.00 น.ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ – 10 มิถุนายน 2565   รอบที่ 2 วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00-15.00 น.ลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ – 10 กรกฎาคม 2565 เตรียมพร้อมก่อนจัดส่งผลงานมหกรรมคุณภาพ สำหรับผลงานที่เคยส่งเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2564 ในประเภทการพัฒนาคุณภาพเริ่มต้น (Initial Quality Development, IQD) และ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement, CQI) ที่ได้นำเสนอในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล

คุยสบายบ่ายวันศุกร์ EP.35 ตอน The OKRs Toolbox : เครื่องมือถ่ายทอดยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

ฟรี! สัมมนาออนไลน์ “คุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU” EP.35 วันที่ 17 มิ.ย. 65 นี้ ตอน The OKRs Toolbox : เครื่องมือถ่ายทอดยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ   หลายองค์กรประสบปัญหา การนำยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ ไปสู่การปฏิบัติ… รายการคุยสบาย บ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU ในครั้งนี้ จะมาเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการพูดคุยและแบ่งประสบการณ์ จากมุมมองที่ปรึกษาซึ่งมีโอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาองค์กร กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยเฉพาะการจัดทำยุทธศาสตร์ด้วยเครื่องมือ OKRs ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหลายองค์กร ถึงแม้ว่า OKRs จะเป็นเครื่องมือบริหารผลงาน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ ไปสู่การปฏิบัติได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีเครื่องมือและเทคนิคอื่นๆ ที่อยู่ในกล่อง ที่สามารถนำมาช่วยเสริมให้การถ่ายทอดกลยุทธ์ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น มาร่วมเปิดกล่องเครื่องมือ Toolbox นี้ไปพร้อมกัน กับประเด็นการพูดคุย แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ด้วยเครื่องมือ OKRs ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องมือ OKRs ขององค์กรในประเทศไทย Misunderstanding ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการใช้ OKRs เครื่องมือบริหารจัดการ ตัวช่วยสำหรับการใช้ OKRs

คุยสบายบ่ายวันศุกร์ EP.34 ตอน Low-code Platform for Manufacturing : พลิกโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับกระบวนการผลิตยุคใหม่

ฟรี! สัมมนาออนไลน์ “คุยสบายบ่ายวันศุกร์ กับ Productivity GURU” EP.34 วันที่ 10 มิ.ย. 65 นี้ ตอน Low-code Platform for Manufacturing :  พลิกโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับกระบวนการผลิตยุคใหม่   เมื่อเรากำลังเข้าสู่ Smart Factory เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเข้ามามีบทบาทในการผลิต ช่วยบริหารจัดการลดความยุ่งยากซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนการผลิต ปัจจุบัน ซอฟต์แวร์เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการสำหรับสายงานผลิตเพิ่มมากขึ้น หลายบริษัทเลือกที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาด้วยตนเอง เพื่อปรับให้มีการใช้งานตรงกับลักษณะเฉพาะตามที่ต้องการ ซึ่งอาจต้องใช้ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ มาร่วมเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ เทคโนโลยี Low-code ที่จะช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น ลดปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและข้อจำกัดของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป พร้อมตัวอย่างการประยุกต์ซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร Supply Chain และ Manufacturing Process   ประเด็นการพูดคุย ทำความรู้จักกับ Low-code Platform เทคโนโลยีที่จะช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น สาธิตการใช้ Mendix Low-code Platform ตัวอย่างการการประยุกต์ใช้ Low-code ของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย แนะนำการเริ่มต้นทดลองใช้ Mendix